วิธียื่นภาษีออนไลน์ 2565 จากภาษีเงินได้ปี 2564




ฤดูกาลยื่นภาษี 2565 เริ่มแล้ว การยื่นภาษีเป็นหน้าที่ของประชาชนที่มีรายได้ การยื่นภาษีในแต่ละปีนี้เริ่มวันที่ 1 มกราคม ถึง 8 เมษายน 2565 วิธีการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานั้นทำได้ด้วยตัวเองผ่านเว็บไซต์กรมสรรพากร ยิ่งกรอกรายละเอียดและส่งเอกสารเร็ว ก็จะยิ่งได้เงินคืนภาษีเร็วขึ้นด้วย

วิธียื่นภาษีออนไลน์ 2564

การยื่นภาษีในปี 2565 เป็นการใช้ข้อมูลเงินได้ของปีก่อน นับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม 2564 ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง มีดังนี้

  • ชื่อ สกุล ของผู้ยื่นภาษี และคู่สมรส
  • เลขประจำตัวผู้เสียภาษีของบริษัทที่ทำงานอยู่ หรือนายจ้างที่จ่ายค่าจ้างอื่นๆ
  • ยอดเงินที่เป็นรายได้
  • ยอดที่จ่ายให้กับกองทุนต่างๆ เช่น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ, SSF, RMF, LTF, กองทุนประกันสังคม, กองทุนการออมแห่งชาติ เป็นต้น
  • หนังสือรับรองการหักเสียภาษี ณ ที่จ่าย (ใบ 50 ทวิ)
  • เลขบัตรประจำตัวประชาชนของคู่สมรส, บุตร, บิดามารดา ที่นำมากรอกยื่นเพื่อลดหย่อนภาษี
  • หนังสือรับรองการจ่ายเบี้ยประกันชีวิตของผู้ยื่นภาษี และประกันสุขภาพของบิดาหรือมารดาที่นำมายื่นลดหย่อนภาษี
  • ข้อมูลการยื่นลดหย่อนภาษีอื่นๆ เช่น ใบเสร็จหรือหนังสือรับรองการบริจาคให้แก่สถานพยาบาล หรือ มูลนิธิที่กำหนด

ขั้นตอนในการยื่น ภ.ง.ด.90/91

มีทั้งหมด 5 ขั้นตอน

  1. กรอกข้อมูลผู้เสียภาษีเงินได้
  2. กรอกเงินได้
  3. กรอกค่าลดหย่อน
  4. ตรวจสอบข้อมูล
  5. ยืนยันข้อมูล

ควรเตรียมเอกสารต่างๆ ให้พร้อมก่อนยื่นกรอกข้อมูล เพื่อการขอคืนภาษีได้ครบถ้วย ถูกต้อง เนื่องจากมีการขอให้อัปโหลดเอกสารเพื่อยื่นยันในภายหลัง ดังนั้นหากกรอกตัวเลขไม่ถูกต้อง ก็ต้องยื่นคำร้องขอแก้ไขและอาจเสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับภายหลัง

ขั้นตอนที่ 1 กรอกข้อมูลผู้เสียภาษีเงินได้

สิ่งที่ใช้ Log In ลงทะเบียน เข้าเว็บไซต์กรมสรรพากร

– เลขบัตรประจำตัวประชาชน
– รหัสผ่าน
– หมายเลขโทรศัพท์มือถือเพื่อรับ OTP

หลังจากนั้นตรวจสอบข้อมูลส่วนบุคคล ได้แก่ คำนำหน้าชื่อ ชื่อสกุล ที่อยู่ปัจจุบัน และข้อมูลการยื่นภาษีร่วมหรือแยกกับคู่สมรส เมื่อกรอกข้อมูลเสร็จแล้ว กด “ถัดไป” หรือ “บันทึกร่าง”

ขั้นตอนที่ 2 กรอกข้อมูลเงินได้

เตรียมเอกสาร 50 ทวิ ที่ได้จากการจ้างงานทั้งหมด ทั้งงานประจำจากนายจ้าง หรือฟรีแลนซ์ใช้หนังสือรับรองการหักภาษี มากรอกในรายได้ต่างๆ ดังนี้

1. รายได้จากเงินเดือน เป็นเงินเดือนหรือเงินได้ตามสัญญาจ้างแรงงาน มาตรา 40(1) หรือเงินได้ที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน

2. รายได้จากฟรีแลนซ์ รับจ้างทั่วไป วิชาชีพอิสระ เบี้ยประชุม หรือค่านายหน้า มาตรา 40(2) หรือ ค่าตอบแทนจากการประกอบวิชาชีพอิสระ วิชากฎหมาย การประกอบโรคศิลปะ วิศวกรรม สถาปัตยกรรม การบัญชี ประณีตศิลปกรรม มาตรา 40(6)

3. รายได้จากทรัพย์สิน และการทำธุรกิจ ได้แก่

– ค่าลิขสิทธิ์ ค่าสิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญา (Royalty) และ ค่ากู๊ดวิลล์ (Goodwill) หรือ เงินได้รายปีที่ได้มาจากนิติกรรม และคำพิพากษาของศาล มาตรา 40(3)
– ค่าเช่า ค่าผิดสัญญาเช่าซื้อหรือซื้อขายเงินผ่อน มาตรา 40(5)
– เงินได้จากการรับเหมาที่ผู้รับเหมาทั้งค่าแรงและค่าของ ที่ต้องลงทุนด้วยการจัดหาสัมภาระ ในส่วนสำคัญ นอกจากเครื่องมือ มาตรา 40(7)
– เงินได้จากธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่ง และเงินได้อื่นๆ มาตรา 40(8)
– เงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ฯ มาตรา 40(8)

4. รายได้จากการลงทุน ได้แก่

– ดอกเบี้ย เงินปันผลจากบริษัทต่างประเทศ ประโยชน์ใดๆ จากคริปโตเคอร์เรนซีหรือโทเคนดิจิทัล เงินเพิ่มทุน เงินลดทุน มาตรา 40(4)
– เงินปันผล ส่วนแบ่งกำไรจากหุ้น/กองทุน มาตรา 40(4)(ข)
– เงินได้พึงประเมินที่ได้ใช้สิทธิเลือกเสียภาษีโดยไม่ต้องนำมารวมคำนวณภาษีกับเงินได้อื่น
– กำไรจากการขายกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)
– กำไรจากการขายกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF)
– กำไรจากการขายกองทุนเพื่อการออม (SSF)

5. รายได้จากมรดกหรือได้รับมา เงินได้จากการให้หรือการรับ มาตรา 40(8)

ขั้นตอนที่ 3 กรอกค่าลดหย่อน

1. ค่าลดหย่อนส่วนตัว

ค่าลดหย่อนส่วนตัวและครอบครัว บุตร, บิดามารดา, เบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดา, อุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพ

2. ค่าลดหย่อนยกเว้นด้านการออมและการลงทุน ได้แก่

– กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
– เงินสะสมกองทุนบำเหน็จบำนาญ (กบข.)
– เงินสะสมกองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน
– เงินค่าชดเชยที่ได้รับตามกฎหมายแรงงาน (กรณีนำมารวมคำนวณภาษี)
– เงินสะสมกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.)
– เงินสมทบกองทุนประกันสังคม
– เบี้ยประกันชีวิต
– เบี้ยประกันสุขภาพ
– เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ
– ค่าซื้อหน่วยลงทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)
– ค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการออม SSF
– เงินลงทุนในหุ้น หรือการเป็นหุ้นส่วนเพื่อจัดตั้ง หรือเพิ่มทุนบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้รับจดทะเบียนวิสาหกิจเพื่อสังคม และได้จดแจ้งการเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคม

3. ค่าลดหย่อน/ยกเว้น จากสินทรัพย์และมาตรการนโยบายภาครัฐ
– ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัย
– เงินบริจาคพรรคการเมือง
– ค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตร

4. เงินบริจาค
– เงินบริจาคสนับสนุนการศึกษา/สถานพยาบาล/สภากาชาดไทย/อื่นๆ
– เงินบริจาค

ขั้นตอนที่ 4 ตรวจสอบข้อมูล

ตรวจสอบข้อมูลเงินได้และรายการลดหย่อนทั้งหมด ระบบจะคำนวณการเสียภาษีมาให้ หากชำระภาษีไปแล้ว ก็จะมียอดที่ชำระไว้เกินปรากฏ

หากต้องการขอคืนภาษี กด “ต้องการขอคืน” หรือ “ไม่ต้องการ” และสามารถเลือกอุดหนุนเงินภาษีให้แก่พรรคการเมืองได้อีกด้วย

ขั้นตอนที่ 5 ยืนยันข้อมูล

เมื่อกรอกแบบ ภ.ง.ด. 91, ภ.ง.ด. 90 เรียบร้อยแล้ว สามารถเลือกพิมพ์แบบ บันทึกร่าง หรือกดยืนยันเพื่อส่งแบบยื่นภาษี 2564 ได้ทันที หากต้องการขอคืนภาษี ก็เลือกช่องทางโอนเข้าพร้อมเพย์ หรือตามวิธีในประกาศแต่ละปีของกรมสรรพากร

ยื่นภาษี 2564 หมดเขตเมื่อไหร่

การยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในแต่ละปีจะเปิดให้ยื่นช่วง 1 มกราคม – 31 มีนาคม สำหรับปี 2565 นี้ ยื่นได้ถึงวันที่ 8 เมษายน 2565 ยกเว้นจะมีสถานการณ์พิเศษอื่นๆ ที่ทำให้ต้องประกาศเลื่อนการยื่นภาษีออกไป ติดตามได้ที่เว็บไซต์กรมสรรพากร

Share

Recent Posts

New York City’s Sweetest Ice Cream Shops To Check Out

New York City is a haven for food lovers, and when it comes to ice… Read More

11 months ago

Explore Montenegro, The Hidden Gem of the Balkans

Montenegro, a hidden gem nestled in the Balkans, offers travelers a captivating experience with its… Read More

11 months ago

Spice Up Your Salad Game With These Tips To Make Salads More Exciting

Salads are a fantastic way to incorporate fresh and nutritious ingredients into our daily meals.… Read More

11 months ago

The Best Travel Destinations For Fitness Enthusiasts

  For fitness enthusiasts seeking to combine their love for travel and physical well-being, there… Read More

11 months ago

What To Do On Your First Visit To Edinburgh

Edinburgh, the capital city of Scotland, is a captivating destination that offers a perfect blend… Read More

12 months ago

Which Are The Consistently Most Popular Starbucks Drinks?

Starbucks has become a global phenomenon, captivating millions of coffee enthusiasts with its diverse menu… Read More

12 months ago