106 ปี “ตรุษจีน” ปากน้ำโพ สืบสานประเพณียุค “โควิด”




ตรุษจีนปีนี้มาเร็วหน่อย เพราะเพียงแค่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ ก็มาถึงแล้ว…ไม่เหมือนปีก่อนๆ ที่อาจจะล่วงเลยไปถึงวันที่ 10 กว่าๆของกุมภาพันธ์…และในบางปีจะใกล้กับวัน “วาเลน ไทน์” 14 กุมภาพันธ์เสียด้วยซ้ำ สามารถฉลอง 2 อย่างไปพร้อมๆกันได้เลย ทั้งเทศกาลแห่งความรักและเทศกาลตรุษจีน

แต่ไม่ว่าจะมาช้าหรือมาเร็ว และจะทับซ้อนกับวันแห่งความรักหรือไม่ก็ตาม…จะมีอยู่วันหนึ่งที่คอลัมน์ “ซอกแซก” ยกเนื้อที่ให้เต็มๆ สำหรับการโฆษณาประชาสัมพันธ์ “งานตรุษจีน” ของจังหวัดหนึ่ง โดยไม่มีการงดเว้นเลยแม้แต่ปีเดียว…ท่านที่เป็นแฟนเก่าแก่ของคอลัมน์คงจะจำได้

“ตรุษจีนปากน้ำโพ” หรือ “ตรุษจีนนครสวรรค์” นั่นแหละครับ คอลัมน์นี้เขียนให้ตั้งแต่ปี 2516 ซึ่งเป็นปีแรกที่มาประจำการ ณ ไทยรัฐ…นับมาถึงบัดนี้ 47 ปีเต็มๆ ย่างเข้าปีที่ 48…เรียกว่า “ตรุษจีนปากน้ำโพ” จัดมาแล้ว 105 ปี และปีนี้ เป็นปีที่ 106…ที่นี่เขียนให้ถึง 48 ปีซ้อนๆ เกือบครึ่งหนึ่งเลยนะครับเนี่ย

สาเหตุที่เขียนให้มากมายถึงเพียงนั้น ก็สืบเนื่องมาจากคำสอนอันเป็นประเพณีของชาวนครสวรรค์เคียงคู่มากับประเพณีการจัดงาน “ตรุษจีน” นั่นเอง…ได้แก่ คำสั่งสอนที่ว่า “ลูกปากน้ำโพทุกคนจะต้องนึกถึงเทศกาลตรุษจีนบ้านเราอยู่เสมอ ไม่ว่าจะไปอยู่ที่ไหน”

หัวหน้าทีมซอกแซกออกเดินทางจากปากน้ำโพเมื่ออายุ 17 ปีเต็มๆ…สมัยเป็นนักเรียนนักศึกษาพอมีเวลาว่างก็จะเดินทางกลับบ้านในช่วงตรุษจีนทุกปี แต่เมื่อเริ่มทำงาน แม้จะประจำการอยู่กรุงเทพฯทว่าชีวิตช่วงหนึ่งต้องเดินสายไป

ทั่วประเทศ ทำให้โอกาสที่จะกลับบ้านในช่วงเทศกาลตรุษจีนเริ่มน้อยลง

จำเป็นต้องปฏิบัติตามคำสั่งสอนของรุ่นพ่อรุ่นแม่…ว่า…ถ้ากลับไม่ได้ก็ส่งใจกลับไป… และเผอิญเรามีคอลัมน์อยู่ในไทยรัฐ 1 คอลัมน์ ก็เลยเขียนถึงควบคู่ไปด้วย ถือเป็นการส่งใจกลับบ้านอีกทางหนึ่ง ด้วยประการฉะนี้

หัวหน้าทีมซอกแซกเดินทางมาเรียนหนังสือในตัวเมืองปากน้ำโพและต้องอยู่ค้างเป็นประจำเพราะเส้นทางคมนาคมยุคโน้นไม่สะดวกเหมือนยุคนี้ จากบรรพตพิสัยเข้าปากน้ำโพขาล่องมาทางเรือ ใช้เวลาเกือบ 4 ชั่วโมง และถ้าขาขึ้นกลับบ้านก็ประมาณ 8 ชั่วโมง ออกเช้าๆไปถึงเอาเกือบคํ่า… ไม่มีโอกาสไปเช้าเย็นกลับเหมือนสมัยนี้

ซึ่งก็ดีไปอย่างทำให้มีโอกาสได้หล่อหลอม

ตัวเองเข้ากับเพื่อนๆชาวปากน้ำโพ กลายเป็นเด็กปากน้ำโพเต็มตัวเมื่อเรียนจบชั้นมัธยม

คุ้นเคยกับประเพณีแห่เจ้าพ่อเจ้าแม่อย่างดียิ่งและในบางปีก็เคยไปร่วมตีล่อโก้วในขบวนแห่มาแล้วด้วยซ้ำ

ในช่วงตรุษจีนเราจะมีการแสดงงิ้ว และอัญเชิญเจ้าพ่อเจ้าแม่จากทุกศาลมาสถิตที่ศาลชั่วคราวริมฝั่งน้ำเจ้าพระยา บริเวณที่เราเรียกว่า “ตึกขาว” ซึ่งมีลานกว้างพอที่จะตั้งโรงงิ้วและศาลเจ้าชั่วคราวได้

สำหรับวัน “แห่เจ้า” หรือวันอัญเชิญเจ้าพ่อเจ้าแม่ เคลื่อนไปตามท้องถนนต่างๆของปากนํ้าโพนั้น จะเป็นวัน “ชิวสี” หรือวันขึ้นปีใหม่วันที่ 4 ซึ่งถือปฏิบัติกันมาตั้งแต่หัวหน้าทีมจำความได้

ต่อมามีการเสนอให้จัดแห่พิเศษในตอนกลางคืนของวัน “ชิวซา” ด้วย ซึ่งจะสามารถเล่นแสงเล่นสีได้ จัดงานให้ อลังการได้…ก็จึงมีพิธีแห่ภาคกลางคืนเพิ่มมาอีก 1 วัน

งานค่อยๆใหญ่ขึ้น และโด่งดังมากขึ้นไปทั่วประเทศไทย และข้ามประเทศไปยังมาเลเซีย สิงคโปร์ ฮ่องกง หรือแม้แต่อินโดนีเซีย…แต่ละปีจะมีพี่น้องชาวจีนจากประเทศเพื่อนบ้านเหล่านี้มาร่วมชมพิธีแห่จำนวนเป็นหมื่นๆคน

การแสดงก็ค่อยๆพัฒนาขึ้นจากขบวนสิงโตแต้จิ๋วไหหลำ และจีนแคะ ซึ่งเป็นขบวนหลัก ก็มี “มังกรทอง” บังเกิดขึ้น…และขนาดของมังกรก็ใหญ่ขึ้น และฤทธิ์เดชมากขึ้น สามารถพ่นไฟและเล่นไฟกลางอากาศได้อย่างสวยงาม… คราวนี้เลยดังไปถึงเมืองจีน ซึ่งก็เริ่มเปิดประเทศ ทำให้นักท่องเที่ยวจีนแห่มาดูมังกรปากนํ้าโพปีละหลายๆหมื่นคนเช่นกันยิ่งใหญ่ขึ้นทุกปีแล้วก็ดังขึ้นทุกปี เพิ่งจะมาซาลงในยุค “โควิด–19” นี่แหละครับ

โดยเฉพาะปีนี้เท่าที่ติดตามข่าวมาก็เกือบไม่ได้จัดเสียด้วยซํ้า แต่หลังจากปรึกษาหารือกับคณะกรรมการควบคุมโรคติดต่อประจำจังหวัด ซึ่งส่วนมากก็เป็นลูกหลานนครสวรรค์ หรือไม่ก็จิตใจเป็นนครสวรรค์ไปหมดแล้ว…ในที่สุดก็มีมติว่าจัดได้ แต่ต้องปฏิบัติตามกฎกติกาของกระทรวงสาธารณสุขอย่างเคร่งครัดทุกกระเบียดนิ้ว

และนี่ก็คือรูปแบบของการจัดงานในปีนี้

-เวทีกลางบริเวณหาดทราย (จำกัดคนไม่เกิน 500 คน) ศาลเจ้าชั่วคราว (ศาลเหนือ จำกัดผู้เข้าสักการะไม่เกิน 70 คน), การแสดงอุปรากรจีนหรืองิ้ว สำหรับศาลเหนือ 1 โรง

-ศาลเจ้าชั่วคราว (ศาลใต้ จำกัดผู้เข้าสักการะไม่เกิน 417 คน) อุปรากรจีนหรืองิ้ว สำหรับศาลใต้ 1 โรง

-การแสดงเพื่อสืบสานประเพณีวัฒนธรรมไทยจีน, การออกบูธสินค้าของผู้สนับสนุนภายในงาน (แบบหลวมๆ) ยังคงมีต่อไป

-การตกแต่งถนนสายวัฒนธรรมด้วยโคมไฟและแสงสี (ซอยศรีไกรลาศ) ยังมีเช่นทุกปี ขณะนี้เริ่มแล้ว ได้ข่าวว่าสวยมาก

แล้วอะไรบ้างล่ะที่จะงดในปีนี้? คำตอบก็คือ

งดขบวนแห่เฉลิมฉลองภาคกลางคืน หรือชิวซา…งดการแสดงดนตรีสดจากศิลปินดาราทุกค่าย…งดการจัดประกวดเวทีสาวงามทุกชนิด…

งดการจัดเทศกาลอาหาร…งดการจัดมหกรรมจำหน่ายสินค้า และงดการประทับทรงของ

องค์เจ้าทุกพระองค์ในขบวนแห่กลางวัน (ชิวสี่)

ส่วนขบวนแห่กลางวัน…วันที่ 4 กุมภาพันธ์ ยังมีนะครับ แต่ผู้เข้าร่วมงานทุกคนต้องปฏิบัติตัวตามมาตรการป้องกันโควิด-19 อย่างเคร่งครัด ต้องสวมหน้ากากอนามัยตลอดการเข้าร่วมทุกกิจกรรม และผู้เข้าร่วมจะต้องเป็นผู้ที่ฉีดวัคซีนครบตามกำหนด พร้อมแสดงหลักฐาน หรือมีผลตรวจ ATK เป็นลบภายใน 7 วัน หรือมีภูมิคุ้มกันจากการติดเชื้อและรักษาหายดีแล้วภายใน 1-3 เดือน พร้อมใบรับรองแพทย์ ฯลฯ

เห็นหรือล่ะว่าปฏิบัติตามกฎกติกาเคร่งครัด

ขนาดไหน…ซึ่งก็ไม่เป็นไรครับสนุกแบบระมัดระวัง แต่ได้บุญได้กุศล และได้พรเต็มที่ เพราะเจ้าพ่อเจ้าแม่ทุกองค์ยังเสด็จครบ ก็ขอให้อดทนกันไปก่อน

รอปีหน้าปีที่ 107 โควิด–19 คงหายแล้ว คณะกรรมการ หรือ “เถ้านั้ง” ยืนยันว่าจะจัดงานให้ยิ่งใหญ่อลังการเหมือนในอดีตกาล อันระบือลือลั่นอย่างแน่นอนครับ.

“ซูม”

Share

Recent Posts

New York City’s Sweetest Ice Cream Shops To Check OutNew York City’s Sweetest Ice Cream Shops To Check Out

New York City’s Sweetest Ice Cream Shops To Check Out

New York City is a haven for food lovers, and when it comes to ice… Read More

11 months ago

Explore Montenegro, The Hidden Gem of the Balkans

Montenegro, a hidden gem nestled in the Balkans, offers travelers a captivating experience with its… Read More

11 months ago

Spice Up Your Salad Game With These Tips To Make Salads More Exciting

Salads are a fantastic way to incorporate fresh and nutritious ingredients into our daily meals.… Read More

11 months ago

The Best Travel Destinations For Fitness Enthusiasts

  For fitness enthusiasts seeking to combine their love for travel and physical well-being, there… Read More

11 months ago

What To Do On Your First Visit To Edinburgh

Edinburgh, the capital city of Scotland, is a captivating destination that offers a perfect blend… Read More

12 months ago

Which Are The Consistently Most Popular Starbucks Drinks?

Starbucks has become a global phenomenon, captivating millions of coffee enthusiasts with its diverse menu… Read More

12 months ago