ส่องเครื่องบินรบพญามังกร บินว่อนรอบเกาะไต้หวัน!




ความตึงเครียดแถวหมู่เกาะไต้หวัน จากการยั่วยุของอเมริกันต่อนโยบายจีนเดียว ทำให้สถานการณ์ในคาบสมุทรจีนตอนใต้ร้อนระอุขึ้นมาทันที และมีทีท่าว่าจะเกิดการกระทบกระทั่งกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เมื่อกองทัพจีนสั่งซ้อมรบด้วยกระสุนและจรวดของจริง โดยจะเริ่มต้นการซ้อมรบครั้งใหญ่รอบๆ เกาะไต้หวัน ตั้งแต่วันที่ 4 ไปจนถึงวันที่ 7 สิงหาคม 2565 มีการระดมพลมากมายทั้งบก เรือ อากาศ โดยเฉพาะกองทัพอากาศจีนที่มีเครื่องบินรบรุ่นใหม่ ซึ่งเข้าประจำการอยู่ในฐานบินทหารรอบๆ ชายฝั่งและสามารถบินเข้าไปในแผ่นดินไต้หวัน ด้วยเวลาบินเพียงแค่ 7 นาทีเท่านั้นเอง ล่าสุด ทางการจีนออกประกาศให้เครื่องบินทุกประเภท หลีกเลี่ยงการบินเข้าใกล้เกาะไต้หวันในระหว่างการซ้อมรบครั้งใหญ่

Chengdu J-20
ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ประเทศจีนได้ใช้แนวทางการทหารที่โปร่งใสมากขึ้น แม้ว่าจะมีข้อมูลอย่างเป็นทางการเพียงเล็กน้อยเกี่ยวกับเครื่องบินล่องหนรุ่นใหม่อย่าง J-20 ซึ่งเป็นเครื่องบินรบพิสัยปานกลาง มีความสามารถในบินขับไล่ทางยุทธวิธี การโจมตีภาคพื้นดิน และใช้เวลาบินแค่ 7 นาที จากชายฝั่งเข้าไปยังผืนแผ่นดินของไต้หวัน เทคโนโลยีพรางตัวทำให้เครื่องขับไล่โจมตี J-20 ตรวจจับได้ยาก นับเป็นเครื่องบินรบอนาคตที่ก้าวล้ำมากที่สุดของกองทัพอากาศจีน และน่าจะมีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับ F-22 Raptor บริษัท เฉิงตู แอร์คราฟท์ อินดัสทรี กรุ๊ป (Chengdu Aircraft Industry Group) (CAC) พัฒนาและสร้าง J-20 โดยใช้โครงสร้างหลักที่มีความคล้ายคลึงกับ F-35 ค่อนข้างมาก ขณะที่ลำตัว มีขนาดใหญ่กว่า F-22 ไม่มากนัก J-20 ใช้เครื่องยนต์แบบ Saturn 117s ที่ผลิตในรัสเซียจำนวน 2 เครื่องยนต์ ระบบเรดาร์เป็นแบบ Active Electronically Scanned Array (AESA)

J-20 เครื่องบินรบล่องหนรุ่นใหม่ของจีน ถูกออกแบบมาเพื่อแข่งขันกับเครื่องบินรบรุ่นที่ห้าของสหรัฐอเมริกาอย่าง F-22 Raptor รวมถึงเครื่องบินรบยุคอนาคตของรัสเซีย เช่น Su-57 คาดว่า การพัฒนาอากาศยานรบรุ่นนี้ ได้รับความช่วยเหลือจากบริษัท Mikoyan (Russia) การผลิตเบื้องต้นของเครื่องบินรบจีนรุ่นใหม่ เริ่มต้นขึ้นในปี 2015 มีการนำเทคโนโลยี Stealth จึงนับเป็นเครื่องบินรบล่องหนลำแรกของจีน ที่มีการส่งมอบให้กับกองทัพอากาศจีนในปี 2016 และนำมาใช้บินอย่างเป็นทางการในปี 2017 ปัจจุบัน เข้าประจำการในกองทัพอากาศจีน เพื่อเป็นกำลังรบหลักในการป้องกันประเทศ

Chengdu J-20 ออกแบบให้มีช่องติดตั้งอาวุธขนาดใหญ่สองตำแหน่ง สำหรับติดตั้งขีปนาวุธอากาศสู่อากาศระยะไกลและสองช่องเล็กเพื่อติดตั้งขีปนาวุธอากาศสู่อากาศระยะสั้น ขีปนาวุธจะถูกเก็บไว้ในลำตัวเพื่อลดการตรวจจับจากเรดาร์ นอกจากนี้ยังมีถังเชื้อเพลิงขนาดใหญ่สำหรับปฏิบัติการบินระยะไกล J-20 สามารถโหลดเชื้อเพลิงและอาวุธได้มากกว่า F-22 Raptor และมีขีดความสามารถในการปฏิบัติการด้วยความเร็วสูง เครื่องยนต์เทอร์โบแฟน WS-15 จำนวน 2 เครื่อง ทำความเร็วสูงสุดได้ 2.0 มัค หรือ 2,120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง มีเพดานบินสูงสุด 59,055 ฟุต พิสัยบินปฏิบัติการไกล 3,400 กิโลเมตร เทคโนโลยีใหม่ของการออกแบบพื้นผิวบังคับอันก้าวล้ำมีส่วนสำคัญที่ทำให้เครื่องบินขับไล่ล่องหน Chengdu J-20 Stealth Fighter มีความแตกต่างไปจากเครื่องบินรบทั่วไป หลักอากาศพลศาสตร์แบบใหม่ ประกอบไปด้วยระบบแอโรไดนามิกที่ถูกขัดเกลาในอุโมงค์ลม J-20 Stealth Fighter ใช้การออกแบบพื้นผิวสำหรับการสร้างแรงยกมหาศาล รวมถึงยังสามารถสร้างแรงกดได้เท่าที่ต้องการ และเมื่อวิศวกรการบินของกองทัพอากาศจีนได้ควบรวมแรงทั้งสองโดยออกแบบผิวพื้นของตัวเครื่องให้สามารถสร้างได้ทั้งแรงยกและแรงกดในระดับสูง ประสิทธิภาพทางการบินของ J-20 อยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับเครื่องบินรบของสหรัฐอเมริกา

J-20 Stealth Fighter ใช้ชื่อโครงการว่า J-XX เริ่มต้นการวิจัยและพัฒนาในทศวรรษที่ 1990 โดยเริ่มต้นทำการทดสอบการบินในช่วงปลายปี 2010 กับเครื่องต้นแบบ J-XX และมีการคาดการณ์ว่า J20 Stealth Fighter จะเข้าประจำการประมาณปี 2017-2019 โดยจะเป็นเครื่องบินขับไล่โจมตีแบบล่องหนที่สามารถปฏิบัติการบินทางยุทธวิธีได้หลากหลาย เช่นเดียวกับเครื่องบินขับไล่ล่องหน F-35 ของกองทัพอากาศสหรัฐอเมริกา ด้วยความก้าวล้ำทางเทคโนโลยีการบิน J-20 จึงกลายเป็นเครื่องบินรบในยุคที่ 5 ที่มีเทคโนโลยีล่องหนหรือ Stealth เช่นเดียวกับ F-22 แร็พเตอร์, F-35 ไลท์นิ่ง II ของสหรัฐอเมริกา และ ซุคฮอย T-50 ของรัสเซีย โดย J-20 สามารถบรรทุกอาวุธและเชื้อเพลิงได้มากกว่า F-22 และมีพิสัยทำการ รวมถึงการโหลดอาวุธได้มากกว่าเครื่อง F-22 ทำให้ภารกิจของเครื่องบินขับไล่ J-20 Stealth Fighter มีความหลากหลายมากกว่า ทั้งการบินโจมตีระยะไกลและการบรรทุกอาวุธจำนวนมาก

Shenyang J-11
Shenyang J-11 หรือ Jian-11 เป็นเครื่องบินขับไล่หลายบทบาทของกองทัพอากาศจีน ผลิตโดย Shenyang Aircraft Corporation (SAC) เป็นอากาศยานรบรุ่นใหม่ ที่ได้รับการแผนแบบมาเครื่องบินขับไล่ Sukhoi Su-27SK (ชื่อรหัส Nato: Flanker) เครื่องบินขับไล่ J-11 เข้าประจำการในกองทัพอากาศ-กองทัพปลดแอกประชาชน (PLAAF) 

Shenyang J-11 เป็นเครื่องบินรบที่มีความคล่องตัวสูง สามารถทำภารกิจโจมตีทางอากาศและโจมตีภาคพื้นดินได้อย่างหลากหลาย Sukhoi และ SAC ได้ลงนามในสัญญาก่อสร้าง มูลค่า 2.5 พันล้านดอลลาร์ เพื่อร่วมผลิตเครื่องบินขับไล่รุ่นนี้ จำนวน 200 ลำ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 1996 ส่วนหนึ่งของสัญญานี้ บริษัท Sukhoi ของรัสเซีย รับผิดชอบในการจัดหาส่วนประกอบหลัก โครงเครื่องบินของ J-11 ถูกแผนแบบมาจาก Su-27SK ส่วนของลำตัวเครื่องบินรวมห้องนักบิน ส่วนเรดาร์ และช่องติดตั้งระบบ avionics ทำจากไทเทเนียมและอะลูมิเนียมอัลลอย ชิ้นส่วนหลักถูกผลิตในรัสเซียแล้วนำมาประกอบในจีน ส่วนการติดตั้งระบบควบคุมการบินและระบบอาวุธทำในจีนทั้งหมด

J-11 มีความยาว 21.9 ม. ปีกกว้าง 14.7 ม. และสูง 5.9 ม. พื้นที่ปีกของเครื่องบินคือ 62 ตร.ม. มีน้ำหนักบินขึ้นสูงสุด 33,000 กิโลกรัม ห้องนักบินแบบ glass cockpit ของ J-11 รองรับนักบินหนึ่งนาย มาพร้อมจอแสดงผลมัลติฟังก์ชันสี (MFDs) จอภาพบนกระจกหน้า (HUD) ระบบป้องกันภาพสั่นไหวติดตั้งบนหมวกบินนิรภัย (HMS) และระบบควบคุมการบินแบบดิจิทัลที่มีซอฟต์แวร์ก้าวล้ำ ชุดอุปกรณ์ avionics ควบรวมระบบตรวจสอบและพิสูจน์ฝ่าย IFF, ระบบอ้างอิงภูมิประเทศและควบคุมทิศทาง, ระบบติดตามและค้นหาทิศทางของเป้าหมายแบบอัตโนมัติ, ระบบค้นหาและติดตามเป้าหมายด้วยแสงเลเซอร์, ระบบนำทาง INS/GPS, เรดาร์ควบคุมการยิง และเรดาร์แบบ pulse-Doppler ระบบตรวจสอบอัตโนมัติบนเครื่อง ประกอบด้วยระบบแจ้งเตือนล่วงหน้า ระบบบันทึกข้อมูลเที่ยวบิน และอุปกรณ์เตือนสถานการณ์ฉุกเฉิน

อาวุธของ Shenyang J-11 มีการติดตั้งปืนใหญ่ขนาด 30 มม. GSh-30-1 ขีปนาวุธอากาศสู่อากาศ นำวิถีด้วยเรดาร์ PL-12, ขีปนาวุธอากาศสู่อากาศระยะประชิด PL-9, ขีปนาวุธนำวิถีอากาศสู่อากาศ (AAM), ขีปนาวุธอากาศสู่อากาศ PL-8, ขีปนาวุธอากาศสู่อากาศพิสัยกลาง Vympel R-77, ขีปนาวุธอากาศสู่อากาศพิสัยกลาง Vympel R-27 และขีปนาวุธอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้ Vympel R-73 – ขีปนาวุธสู่อากาศ PL-12 บรรทุกหัวรบแบบกระจายตัวด้วยระเบิดแรงสูง เครื่องยิงจรวดแบบกระเปาะ และลูกระเบิด cluster bombs ขนาด 500 กิโลกรัม

J-11 ใช้เครื่องยนต์เทอร์โบแฟน Lyulka AL-31F หรือ FWS-10A Taihang จำนวน 2 เครื่อง แต่ละเครื่องยนต์ มีแรงขับดันมากถึง 75.22kN / 89.17kN ส่วนแรงขับดันแบบจุดระเบิด afterburner thrust ที่ 123kN / 132kN ต่อมา กองทัพอากาศจีน พัฒนาเครื่องยนต์เทอร์โบแฟน FWS-10A TaiHang และทำการเปิดตัวในงานแสดงแสนยานุภาพ Zhuhai Air Show ครั้งที่ 6 เมื่อปี 2549 เชื่อกันว่า เครื่องยนต์รุ่นนี้แผนแบบมาจากครื่องยนต์เทอร์โบแฟน AL-31F ที่ผลิตในรัสเซีย ในแง่ของเทคโนโลยีและประสิทธิภาพ J-11 มีเพดานบินสูงสุดมากถึง 19,000 เมตร (19 กิโลเมตรเหนือพื้นดิน) อัตราการไต่ระดับความสูง 300m/s ความเร็วสูงสุด 2.35 มัค หรือ 2,870 กิโลเมตร พิสัยบิน (บินไกล) 3,530 กิโลเมตร ความเร็วสูงสุดในการบินที่ระดับน้ำทะเลโดยไม่มีอาวุธภายนอกอยู่ที่ 1,400 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

Sukhoi Su-30 MMK
เครื่องบินขับไล่ Sukhoi Su-30 ที่มีชื่อรหัสว่า “Flanker-C/G/H” เป็นเครื่องบินหลายบทบาทแบบสองที่นั่งที่คล่องแคล่วว่องไวสูง สร้างโดย Sukhoi Aviation Corporation เปิดตัวในปี 2012 เครื่องบิน Flanker-C /G/H สามารถนำไปใช้ในการครองน่านฟ้า และการปฏิบัติการทางอากาศภายใต้สภาพอากาศที่รุนแรง มีสามรุ่นของ Su-30 ซึ่งสร้างขึ้นโดยสององค์กรที่แตกต่างกัน Su-30MKK และ Su-30MK2 สร้างขึ้นโดย KnAAPO เพื่อส่งออกไปยังจีน เวเนซุเอลา อินโดนีเซีย และยูกันดา ในทางกลับกัน Su-30MKI ได้รับการพัฒนาโดย Irkut เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการโจมตีภาคพื้นดิน หลังจากการล่มสลายของอดีตสหภาพโซเวียต โครงการทางทหารทั้งหมดถูกยกเลิก แต่เครื่อง Sukhoi Su-30 MMK ได้ขจัดข้อสงสัยของผู้เชี่ยวชาญทางทหาร เกี่ยวกับขีดความสามารถในการพัฒนาเครื่องบินขับไล่ขั้นสูงของกองทัพอากาศจีน

Su-30 MMK เป็นเครื่องบินขับไล่ไอพ่นสองเครื่องยนต์ที่เร็วและมีความคล่องตัวสูง เป็นส่วนหนึ่งของอากาศยานรบในตระกูล Sukhoi Flanker ของรัสเซีย ซึ่งรวมถึง Su-27, Su-30, Su-33, Su-34 และ Su-35 สมรรถนะ มีประสิทธิภาพสูงในการบินรบทุกสภาพอากาศ การโจมตีภาคพื้นดิน และความสามารถในการต่อสู้กับเครื่องบินขับไล่ของฝั่งตะวันตก คู่แข่งของอเมริกันที่ใกล้เคียงกับมันมากที่สุด คือ เครื่องบินขับไล่ F-15E Strike Eagle ยอดส่งออกของ Su-30 จำนวนมากแสดงให้เห็นถึงความสำเร็จในการพัฒนาขีดความสามารถ กับหลายประเทศที่ซื้อไปปฏิบัติการในกองทัพอากาศ เช่น อินเดีย เวียดนาม ยูกันดา อินโดนีเซีย และเวเนซุเอลา ส่วนกองทัพอากาศจีนใช้ Su-30 รุ่น MKK2

Xi’an H-6 (กองทัพอากาศจีน : Hong-6 )
นี่คือเครื่องบินทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ที่แผนแบบมาจากเครื่องบินทิ้งระเบิด Tu-16 ของอดีตสหภาพโซเวียต การส่งมอบ Tu-16 ไปยังประเทศจีน เริ่มขึ้นในปี 2501 ต่อมา มีการลงนามในบันทึกข้อตกลงร่วมผลิตกับอดีตสหภาพโซเวียต ในช่วงในปลายทศวรรษ 1950 โดยบริษัท Xi’an Aircraft Industrial Corporation (XAC) ผลิตเครื่องบินทิ้งระเบิดรุ่นนี้ ในชื่อ “H-6” และทำการขึ้นบินครั้งแรกในปี 2502 จนถึงปี 2563 กองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน มี Xi’an H-6 ประจำการอยู่ถึง 231 ลำ

Xi’an H-6 รุ่นล่าสุดคือ H-6K ซึ่งเป็นเครื่องบินทิ้งระเบิด ที่ออกแบบใหม่ทั้งหมด สามารถเติมเชื้อเพลิงทางอากาศและบรรทุกขีปนาวุธร่อนแบบปล่อยกลางอากาศได้ วิศวกรการบิน เหอ เซิ้งเฉียง หัวหน้าทีมวิจัยและพัฒนาเครื่องบิน H-6 ของกลุ่มรัฐวิสาหกิจอุตสาหกรรมอากาศยานจีน หรือ Aviation Industry Corporation of China (AVIC) เปิดเผยในการให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวซินหัวว่า เครื่องบินทิ้งระเบิด H-6K ได้รับการปรับปรุงใหม่ ซึ่งเป็นรุ่นที่ตอบสนองตรงต่อความต้องการของกองทัพประชาชนจีน ด้วยระบบต่างๆ ที่มีความทันสมัย H-6K ถูกแผนแบบให้เป็นเครื่องบินทิ้งระเบิดขนาดหนักพิสัยปฏิบัติการปานกลาง-ไกล ที่ตอบสนองต่อระบบยุทโธปกรณ์ของกองทัพอากาศจีน มีการปรับปรุงหลักๆ คือความก้าวหน้าเกี่ยวกับเครื่องยนต์ที่ได้รับการปรับปรุงใหม่ การปรับแต่งและออกแบบห้องนักบิน ช่วยลดภาระของนักบิน รวมทั้งมีการแบ่งงานที่ชัดเจน เนื่องจากในสภาพแวดล้อมการสู้รบ จำเป็นต้องรับรองความปลอดภัยในการบินและการโจมตีที่แม่นยำอย่างสมบูรณ์แบบ ในขณะเดียวกันก็สามารถรับประกันการปฏิบัติของนักบินในการบินเจาะแนวรับได้อย่างราบรื่นรวมทั้งการเผชิญหน้ากับการจู่โจมของเครื่องบินขับไล่ฝ่ายศัตรู ความสามารถในการรับข้อมูล ซึ่งได้รับการปรับปรุงอย่างมากเมื่อเทียบกับเครื่องบินทิ้งระเบิดรุ่นก่อนๆ ถึงระดับของเครื่องบินรบรุ่นที่ 3 หรือแม้แต่รุ่นที่ 4

Xi’an H-6K สามารถบรรทุกจรวดร่อน (cruise missile) ทั้งประเภทโจมตีภาคพื้นดินและประเภทต่อต้านเรือผิวน้ำได้หลายหลากแบบ รวมถึงจรวดนำวิถีที่มีความแม่นยำสูง เช่น ติดตั้งจรวดร่อนแบบยิงจากอากาศที่มีพิสัยทำการ 1,600 กิโลเมตร ใต้ปีกมี 6 จุดสำหรับติดตั้งขีปนาวุธ สามารถบรรทุกขีปนาวุธต่อต้านเรือผิวน้ำ CJ-10A พร้อมหัวรบธรรมดาหรือหัวรบนิวเคลียร์ สำหรับ CJ-10 เป็นขีปนาวุธโจมตีระยะไกลที่พัฒนาขึ้นในประเทศจีน ได้รับการออกแบบมาเป็นพิเศษเพื่อตอบโต้กองเรือบรรทุกเครื่องบินของกองทัพเรือสหรัฐฯ CJ-10A มีพิสัยปฏิบัติการไกล 2,000-2,200 กิโลเมตร นอกจากนี้ยังสามารถบรรทุกขีปนาวุธต่อต้านเรือรบ YL-12 อาวุธปล่อยจากอากาศยานเพื่อต่อต้านเรือผิวน้ำรุ่นดังกล่าว สามารถกระทบเป้าหมายอย่างแม่นยำที่ระยะไกลถึง 400 กิโลเมตร 

เครื่องยนต์เทอร์โบแฟน D-30KP-2 ของรัสเซีย แต่มีการยกระดับความสามารถ โดยลงมือปรับปรุงทางวิศวกรรม เพื่อยกระดับประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องยนต์ที่ทำในประเทศจีนให้ดีกว่าเดิม เครื่องยนต์รุ่นใหม่ มีแรงขับที่มากขึ้น ทำให้ H-6K มีน้ำหนักบรรทุกสูงสุดขณะขึ้นบินสูงกว่าเดิม มีอัตราส่วนน้ำหนักต่อแรงขับที่ดีขึ้น ส่งผลให้ประสิทธิภาพการใช้เชื้อเพลิงและระยะการใช้งานเพิ่มขึ้น ช่องเก็บลูกระเบิดถูกออกแบบใหม่ให้กลายเป็นถังเชื้อเพลิง ทำให้ H-6K บินได้ไกลมากกว่า H-6 รุ่นก่อน โดยมีพิสัยปฏิบัติการไกล 3,500 กิโลเมตร. 

อาคม รวมสุวรรณ
E-Mail chang.arcom@thairath.co.th
Facebook https://www.facebook.com/chang.arcom
https://www.facebook.com/ARCOM-CHANG-Thairath-Online-525369247505358/

Share

Recent Posts

New York City’s Sweetest Ice Cream Shops To Check Out

New York City is a haven for food lovers, and when it comes to ice… Read More

11 months ago

Explore Montenegro, The Hidden Gem of the Balkans

Montenegro, a hidden gem nestled in the Balkans, offers travelers a captivating experience with its… Read More

11 months ago

Spice Up Your Salad Game With These Tips To Make Salads More Exciting

Salads are a fantastic way to incorporate fresh and nutritious ingredients into our daily meals.… Read More

11 months ago

The Best Travel Destinations For Fitness Enthusiasts

  For fitness enthusiasts seeking to combine their love for travel and physical well-being, there… Read More

12 months ago

What To Do On Your First Visit To Edinburgh

Edinburgh, the capital city of Scotland, is a captivating destination that offers a perfect blend… Read More

12 months ago

Which Are The Consistently Most Popular Starbucks Drinks?

Starbucks has become a global phenomenon, captivating millions of coffee enthusiasts with its diverse menu… Read More

12 months ago