วันพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว 31 มีนาคมของทุกปี พร้อมประวัติและความสำคัญ




วันพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ตรงกับวันที่ 31 มีนาคมของทุกปี ซึ่งเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระองค์ เพื่อระลึกถึงพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า หรือ วันมหาเจษฎาบดินทร์ โดยไม่ถือเป็นวันหยุดราชการ

ประวัติวันพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3)

คณะรัฐมนตรีมีมติประกาศเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2535 ให้วันที่ 31 มีนาคมของทุกปี เป็นวันระลึกถึงพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ “วันเจษฎา” เนื่องจากตรงกับวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระองค์

พระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์จักรี รัชกาลที่ 3 เสวยราชสมบัติทั้งหมด 27 ปี ตั้งแต่ พ.ศ.2367-2394

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชสมภพ ณ วันจันทร์ แรม 10 ค่ำ เดือน 4 ปีมะแม ตรงกับวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ.2330 ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และพระองค์แรกที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเรียม ธิดาพระยานนทบุรีศรีมหาอุทยาน ภายหลังรัชกาลที่ 3 จึงทรงสร้างวัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร จ.นนทบุรี เพื่อถวายพระอัยกา พระอัยกี และสมเด็จพระราชชนนี ในปี พ.ศ.2390

รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช แต่งตั้งสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุททร เป็น กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ในปี พ.ศ.2349 หม่อมเจ้าชายทับ จึงได้รับพระอิสริยยศเป็น พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าชายทับ และภายหลังที่พระชนกนาถได้ขึ้นครองราชย์เป็นพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ในปี พ.ศ.2352 พระองค์ก็ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทรงกรม เป็นพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2356

กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ เสด็จขึ้นครองราชย์วันอาทิตย์ ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 9 ปีวอก ตรงกับวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ.2367 ตราพระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ 3 คือรูปปราสาท พระนามเต็มตามพระสุพรรณบัฏว่า “พระบาทสมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี ศรีสินทรบรมมหาจักรพรรดิราชาธิบดินทร์ ธรณินทราธิราช รัตนากาศภาสกรวงศ์ องค์ปรมาธิเบศร์ ตรีภูวเนตรวรนายก ดิลกรัตนราชชาติอาชาวไสย สมุทัยดโรมน สากลจักรวาลาธิเบนทร์ สุริเยนทราธิบดินทร์ หริหรินทราธาธิบดี ศรีสุวิบูลย คุณอถพิษฐ ฤทธิราเมศวร ธรรมิกราชาธิราช เดโชชัย พรหมเทพาดิเทพนฤบดินทร์ ภูมินทรปรมาธิเบศร โลกเชษฐวิสุทธิ มงกุฏประเทศคตา มหาพุทธางกูร บรมบพิตร พระพุทธเจ้าอยู่หัว”

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ.2394 สิริดำรงราชสมบัติ 26 ปี 255 วัน พระชนมพรรษา 64 พรรษา

พระราชกรณียกิจที่สำคัญของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3)

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) ขณะทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ในรัชสมัยของสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ทรงกำกับดูแลงานกรมท่า กรมพระคลังมหาสมบัติ กรมพระตำรวจว่าความตามฎีกา

กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ได้ทรงแต่งสำเภาออกไปค้าขายกับต่างประเทศจนมีรายได้เข้าท้องพระคลังเป็นจำนวนมาก กระทั่งสมเด็จพระบรมชนกนาถทรงเรียกพระองค์ว่า “เจ้าสัว”

เมื่อทรงขึ้นครองราช รัชกาลที่ 3 ทรงปกครองบ้านเมืองอย่างเข้มแข็ง และเพิ่มพูนรายได้ของประเทศด้วยการเก็บภาษีเพิ่มขึ้น 38 อย่าง เพื่อลดความขาดแคลนเหมือนเมื่อครั้งก่อน และเพิ่มงบประมาณในการป้องกันประเทศ สร้างกองทัพเรือ ขุดคลอง และสร้างป้อมปราการในจุดปากน้ำสำคัญ พร้อมทำนุบำรุงประเทศไปพร้อมๆ กัน

ในช่วงรัชสมัยของพระองค์ได้เก็บภาษีต่างๆ เพิ่มขึ้นมาก จึงนำมาทำนุบำรุงศาสนา บ้านเมือง เมื่อพระองค์สวรรคต มีเงินเหลือจากการใช้จ่ายของแผ่นดินอยู่ 40,000 ชั่ง ทรงมีพระราชปรารภให้ใช้ทำนุบำรุงรักษาวัดที่เสียหายมานับแต่เสียกรุงให้อยุธยาแต่ก่อน จำนวน 10,000 ชั่ง และอีก 30,000 ชั่ง โปรดให้รักษาไว้เป็นค่าใช้จ่ายของแผ่นดินต่อไปในอนาคต จนกระทั่งรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ.2436 ได้ทรงนำมาใช้กอบกู้ประเทศให้พ้นวิกฤติข้อพิพาทกับฝรั่งเศส (เหตุการณ์ ร.ศ.112) เรียกเงินก้อนนั้นว่าเงินถุงแดง

พระราชสมัญญานามของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

  • พระมหาเจษฎาธิราชเจ้า
  • พระบิดาแห่งการค้าไทย
  • พระบิดาแห่งการพาณิชย์นาวีไทย
  • พระบิดาแห่งการแพทย์แผนไทย

สถานที่ระลึกถึงพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว วัดราชนัดดา กรุงเทพมหานคร

วัดราชนัดดา ตั้งอยู่ที่ถนนราชดำเนินกลาง แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว วัดราชนัดดาได้รับการทำนุบำรุงและก่อสร้างโลหะปราสาทตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ.2394 ได้รับการบูรณะหลายครั้งจนสร้างเสร็จในปี พ.ศ.2506

ลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์ กรุงเทพมหานคร

ลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์ ตั้งอยู่ที่เชิงสะพานผ่านฟ้าลีลาศ ตรงข้ามกับป้อมมหากาฬ ถนนราชดำเนินกลาง กรุงเทพมหานคร เดิมพื้นที่ละแวกนี้ถูกบดบังด้วยโรงภาพยนตร์ ภายหลังคณะกรรมการโครงการกรุงรัตนโกสินทร์ได้เสนอให้ปรับปรุงสภาพแวดล้อมโดยรอบโลหะปราสาท วัดราชนัดดา จึงได้มีมติจัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ในปี พ.ศ.2525 และพื้นที่กว้างบริเวณนี้ได้สร้างเป็นลานพลับพลาเพื่อใช้ต้อนรับราชอาคันตุกะ หรือประมุขของประเทศต่างๆ เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จ คณะกรรมการจึงได้กราบบังคมทูลฯ อัญเชิญพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินประกอบพิธีเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์และสวนสาธารณะ ในวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ.2533

วัดจอมทอง วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร

วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร หรือ วัดจอมทอง ตั้งอยู่ในแขวงบางขุนเทียน เขตจอมทอง เป็นวัดที่มีมาอยู่ก่อนสร้างเมืองกรุงเทพมหานคร เป็นวัดประจำรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องจากเมื่อครั้งทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ได้ทรงทำพิธีเบิกโขลนทวาร เพื่อให้รบชนะพม่าที่ด่านเจดีย์สามองค์ ทรงอธิษฐานให้ได้ชัยชนะ พม่ายกทัพกลับ พระองค์จึงทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดจอมทองใหม่ และถวายเป็นพระอารามหลวง ได้รับพระราชทานนามใหม่ว่า วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร

วัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร จ.นนทบุรี

วัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ตั้งอยู่ริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา รัชกาลที่ 3 ทรงมีพระราชดำริให้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2390 เพื่อระลึกถึงพระอัยกา พระอัยกี และสมเด็จพระราชชนนี เนื่องจากพระอัยกาเป็นพระยานนทบุรีศรีมหาอุทยาน

พระพุทธรูปพระประทานในพระอุโบสถวัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหารเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย สร้างด้วยทองแดงทั้งองค์ จากการขุดแร่ทองแดงที่อำเภอจันทึก จังหวัดนครราชสีมา พระพุทธรูปทองแดงนี้สร้างคู่กับพระประทานวัดราชนัดดา รัชกาลที่ 4 ถวายพระนามพระประทานว่า “พระพุทธมหาโลกาภินันทปฏิมา”

สะพานมหาเจษฎาบดินทรานุสรณ์ จ.นนทบุรี

สะพานมหาเจษฎาบดินทรานุสรณ์ ได้รับพระราชทานชื่อจากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปทรงประกอบพิธีเปิดสะพานเมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ.2558 สะพานนี้ได้ก่อสร้างโดยกรมทางหลวงชนบท และก่อสร้างด้วยงบประมาณจากรัฐบาลไทยและเงินกู้จากองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (JICA) อัตราส่วน 30 ต่อ 70 เริ่มก่อสร้างตั้งแต่วันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ.2555 เปิดให้ทดลองใช้ตั้งแต่วันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ.2557 นับเป็นสะพานรถยนต์ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาแห่งที่ 7 ตั้งอยู่ในจังหวัดนนทบุรี

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้พระราชทานชื่อสะพานแห่งนี้ว่า “สะพานมหาเจษฎาบดินทรานุสรณ์” เนื่องจากเป็นสะพานที่เป็นอนุสรณ์ถึงพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องจากสะพานนี้อยู่ใกล้กับวัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร ที่รัชกาลที่ 3 ทรงสร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงพระอัยกา พระอัยกี และพระราชชนนี

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

Share

Recent Posts

New York City’s Sweetest Ice Cream Shops To Check Out

New York City is a haven for food lovers, and when it comes to ice… Read More

11 months ago

Explore Montenegro, The Hidden Gem of the Balkans

Montenegro, a hidden gem nestled in the Balkans, offers travelers a captivating experience with its… Read More

11 months ago

Spice Up Your Salad Game With These Tips To Make Salads More Exciting

Salads are a fantastic way to incorporate fresh and nutritious ingredients into our daily meals.… Read More

11 months ago

The Best Travel Destinations For Fitness Enthusiasts

  For fitness enthusiasts seeking to combine their love for travel and physical well-being, there… Read More

12 months ago

What To Do On Your First Visit To Edinburgh

Edinburgh, the capital city of Scotland, is a captivating destination that offers a perfect blend… Read More

12 months ago

Which Are The Consistently Most Popular Starbucks Drinks?

Starbucks has become a global phenomenon, captivating millions of coffee enthusiasts with its diverse menu… Read More

12 months ago