รู้จักโรคพฤติกรรมการกินผิดปกติ พร้อมสาเหตุ อาการ และผลข้างเคียง




ด้วยกระแสโลกโซเชียลที่ผู้คนมักจะชอบถ่ายรูปของตนเองลงสื่อออนไลน์เป็นกิจวัตร จึงทำให้คนจำนวนมากหันมาสนใจรูปลักษณ์ภายนอกของตัวเองกันมากขึ้น แต่บางคนก็กังวลมากจนส่งผลให้กลายเป็นโรคพฤติกรรมการกินผิดปกติ (Eating Disorders) ที่มีความสัมพันธ์กับสภาวะจิตใจ ทำให้มีน้ำหนักตัวที่มากหรือน้อยกว่าปกติ รวมทั้งยังก่อให้เกิดโรคอื่นๆ ตามมา เช่น โรคขาดสารอาหาร โรคที่เกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร โรคที่เกี่ยวข้องกับฮอร์โมน โรคกระดูกพรุน โรคหัวใจ และหลอดเลือด ซึ่งหากมีความรุนแรงมากและไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้เสียชีวิตได้

ทั้งนี้ โรคพฤติกรรมการกินผิดปกติ (Eating Disorders) แบ่งออกเป็นหลายชนิด ซึ่งมีอาการและส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพที่ต่างกันออกไปด้วย

โรคบูลิเมีย (Bulimia Nervosa)

เป็นโรคที่เกี่ยวกับความผิดปกติทางการกิน ผู้ป่วยจะรับประทานอาหารปริมาณมากตามด้วยการกำจัดอาหารที่เพิ่งรับประทานเข้าไปไม่ให้น้ำหนักเพิ่มขึ้น โรคบูลิเมีย เกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย แต่มักจะพบบ่อยในกลุ่มวัยรุ่นเพศหญิง

สาเหตุ

มักมาจากการที่ผู้ป่วยไม่มีความมั่นใจในตัวเอง มีความกลัวอ้วน กังวลเรื่องแคลอรี และอาหาร โดยไม่มีเหตุผล แม้ว่าจะมีน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ปกติก็ตาม ทำให้ผู้ป่วยเข้มงวดในการรับประทานอาหารและการออกกำลังกาย มักจะเริ่มรับประทานไม่หยุดอีกเมื่อไม่สามารถทำตามที่ตนตั้งใจไว้ได้

ผู้ป่วยอาจมีอาการซึมเศร้า วิตกกังวล และมีโอกาสที่จะทำร้ายตัวเอง มีพฤติกรรมที่คาดเดาไม่ได้ และมีการใช้ยาหรือเสพติด เพื่อใช้พฤติกรรมเหล่านี้ในการรับมือกับปัญหาทางอารมณ์ แต่ภายหลังกลับกลายเป็นความคลั่งไคล้โดยที่ผู้ป่วยไม่สามารถบังคับได้

ลักษณะอาการ

ผู้ป่วยมักทำให้ตนเองอาเจียน ออกกำลังกายอย่างหนัก ใช้ยาระบาย ยาขับปัสสาวะ อาจอดอาหารและกำจัดปริมาณอาหาร

ปัญหาสุขภาพ

ส่งผลให้มีอาการคออักเสบ เจ็บคอ มีภาวะฟันสึก ต่อมน้ำลายบวม กรดไหลย้อน เส้นเลือดอุดตัน มีภาวะการขาดน้ำและเกลือแร่ในร่างกายขาดสมดุลซึ่งนำมาสู่ภาวะหัวใจวายได้

โรคคลั่งผอม (Anorexia nervosa)

ผู้ป่วยจะมีความกังวลเกี่ยวกับรูปร่างของตนเองกลัวว่าจะอ้วนเกินไป เกิดขึ้นได้ทั้งคนที่เคยมีปัญหาเรื่องรูปร่างและคนที่มีรูปร่างผิดปกติอยู่แล้ว โดยพยายามควบคุมน้ำหนักให้ต่ำลงเรื่อยๆ กระทั่งรูปร่างของผู้ป่วยจะผอมมากจนเห็นได้ชัด

สาเหตุ

มาจากหลายปัจจัยด้วยกัน ทั้งจากพันธุกรรม ความผิดปกติของสมอง และสารสื่อประสาทในสมองที่ควบคุมเรื่องการกิน ความหิว ความอิ่ม ที่มีการทำงานผิดปกติไป ซึ่งอาจเกิดจากยีนร่วมกับสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ผู้ป่วยมักมีความคิดว่าตนเองยังไม่ดีพอ คลั่งไคล้ความสมบูรณ์แบบ เมื่อรู้สึกว่ารูปร่างยังไม่ดีพอ จึงต้องพยายามลดน้ำหนักมากกว่าปกติ เพื่อให้รูปร่างสมบูรณ์แบบที่สุด เมื่อผอมลงแล้วจะรู้สึกภูมิใจในความสำเร็จนั้น และจะลดน้ำหนักไปเรื่อยๆ ถึงแม้ว่าผอมมากเกินไปแล้วก็ตาม

ลักษณะอาการ

ผู้ป่วยมักจะคิดว่าตัวเองอ้วนแม้จะผอมมากก็ตาม ชั่งน้ำหนักอยู่ตลอด บริโภคอาหารในปริมาณที่กำจัด โดยโรคคลั่งผอมแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ อดอาหารหรือออกกำลังกายเพียงอย่างเดียว และอดอาหารหรือออกกำลังกายร่วมกับการกระตุ้นให้อาเจียนออกมา

ปัญหาสุขภาพ

ผู้ป่วยโรคคลั่งผอมมักจะมีปัญหาเรื่องกระดูกเปราะบาง ร่างกายอ่อนแอ ภาวะโลหิตจาง ผมขาดง่ายเล็บเปราะ ความดันต่ำ ส่งผลกระทบต่อหัวใจและสมอง

โรคกินไม่หยุด (Binge eating disorder)

ผู้ป่วยจะทานอาหารปริมาณมากผิดปกติโดยไม่สามารถควบคุมตนเองได้ มักมีการรับประทานอาหารปริมาณผิดปกติแม้จะยังไม่รู้สึกหิว และไม่สามารถควบคุมการรับประทานของตนเองได้ ส่งผลให้ผู้ป่วยมีน้ำหนักที่เกินหรืออ้วน

สาเหตุ

ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของโรคนี้ แต่คาดว่าเกิดจากหลายปัจจัย และโรคนี้สามารถเกิดได้กับคนทุกช่วงวัย โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่นตอนปลายหรือช่วงอายุ 20 ตอนต้น ซึ่งการรักษาและการบำบัดจะแตกต่างกันไปตามปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคขึ้น ทั้งนี้ การรับประทานอาหารปริมาณมากเกินความพอดีอยู่บ่อยครั้งอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพผู้ป่วยทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

ลักษณะอาการ

มักจะมี 3 อย่างขึ้นไป เช่น กินเร็วกว่าปกติ กินจนรู้สึกแน่นไม่สบายตัว กินเยอะมากทั้งที่ไม่รู้สึกหิว รู้สึกรังเกียจตัวเอง ซึมเศร้า รู้สึกผิดมากหลังจากกิน กินคนเดียวเพราะรู้สึกอายที่กินเยอะ ซึ่งผู้ป่วยมักจะมีพฤติกรรมกินไม่หยุดอย่างน้อย 1 ครั้ง/สัปดาห์ เป็นเวลา 3 เดือน และมีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน

ปัญหาสุขภาพ

เป็นโรคที่เกี่ยวกับถุงน้ำดี โรคหัวใจ คอเลสเตอรอลสูง ความดันโลหิตสูง มีระดับไตรกลีเซอร์ไรด์สูง

แนวทางการรักษาโรคพฤติกรรมการกินผิดปกติ (Eating Disorders)

หากคิดว่าตนเองหรือคนใกล้ตัวมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคพฤติกรรมการกินผิดปกติ ควรปรึกษาจิตแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ ตรวจร่างกายและตอบคำถามเกี่ยวกับนิสัยการกิน สุขภาพจิต รูปร่าง และความรู้สึกต่ออาหาร เพื่อไปสู่ขั้นตอนการรักษา

ทั้งนี้การบำบัดโรคพฤติกรรมการกินผิดปกติมีทั้งด้านการบริโภค โดยมีนักโภชนาการที่สามารถให้คำปรึกษาได้ การใช้ยาบางชนิดจะช่วยควบคุมความอยากอาหาร ซึ่งจะได้ผลเมื่อทำควบคู่ไปกับการรักษาแบบอื่นๆ เช่น การรักษาด้านสุขภาพจิตของผู้ป่วย ซึ่งคนในครอบครัวและคนใกล้ชิดควรทำความเข้าใจและให้กำลังใจแก่ผู้ป่วยในการรักษา

ข้อมูลอ้างอิง: กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

Share

Recent Posts

New York City’s Sweetest Ice Cream Shops To Check Out

New York City is a haven for food lovers, and when it comes to ice… Read More

11 months ago

Explore Montenegro, The Hidden Gem of the Balkans

Montenegro, a hidden gem nestled in the Balkans, offers travelers a captivating experience with its… Read More

11 months ago

Spice Up Your Salad Game With These Tips To Make Salads More Exciting

Salads are a fantastic way to incorporate fresh and nutritious ingredients into our daily meals.… Read More

11 months ago

The Best Travel Destinations For Fitness Enthusiasts

  For fitness enthusiasts seeking to combine their love for travel and physical well-being, there… Read More

11 months ago

What To Do On Your First Visit To Edinburgh

Edinburgh, the capital city of Scotland, is a captivating destination that offers a perfect blend… Read More

12 months ago

Which Are The Consistently Most Popular Starbucks Drinks?

Starbucks has become a global phenomenon, captivating millions of coffee enthusiasts with its diverse menu… Read More

12 months ago