10 ที่มาเมษาหน้าโง่ April Fool’s Day ทำไมต้องเป็น 1 เมษายนของทุกปี




เอพริลฟูลส์เดย์ ภาษาอังกฤษเขียนว่า April Fool’s Day หรือ April Fools’ Day แปลเป็นภาษาไทยว่า วันเมษาหน้าโง่ หรือวันแห่งการโกหก บางประเทศเป็นวันหยุดราชการเพราะตรงกับวันเทศกาลดั้งเดิมในท้องถิ่น การโกหกในอดีตไม่ถือเป็นเรื่องอันตรายเพราะมีขอบเขตในการเล่นแกล้งกัน แต่ปัจจุบันนี้ถ้าจะเล่นต้องระวัง ถ้าเอาข้อมูลเท็จขึ้นโซเชียล จะอยู่ในอำนาจกฎหมาย พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550

ประวัติและที่มา April Fool’s Day

เอพริลฟูลส์เดย์ (April Fool’s Day) หรือวันโกหกโลก เป็นการละเล่นที่นิยมกันของบางประเทศแถบยุโรป คาดว่ามาจากชาวกรีก โรมัน และยังนิยมมาจนถึงปัจจุบัน

ประวัติที่มาของวันเอพริลฟูลส์เดย์ (April Fool’s Day) มีหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษรในตำนาน Nun’s Priest’s Tale ที่เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1564 เป็นเรื่องเล่าที่เกิดขึ้นในวันครบรอบงานหมั้นระหว่างพระเจ้าริชาร์ดที่ 2 แห่งอังกฤษ กับเจ้าหญิงแอนน์แห่งโบฮีเมีย สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ เกี่ยวกับสุนัขจิ้งจอกที่ตบตาไก่ตัวผู้ที่หลงตัวเอง

ต่อมาในยุคกลางการเฉลิมฉลองของชาวยุโรปส่วนมากนี้จัดขึ้นในวันที่ 25 มีนาคมของทุกปี บางแห่งสิ้นสุดในวันที่ 1 เมษายน มีการอ้างถึงวันเอพริลฟูลส์เดย์ (April Fool’s Day) ในงานเขียนของกวี ปี ค.ศ. 1563 เกี่ยวกับการส่งคนรับใช้ไปทำภารกิจที่โง่เขลาในวันที่ 1 เมษายน จากบทกวีแสดงให้เห็นว่าการเล่นเอพริลฟูลส์เดย์เป็นที่นิยมในชาวบริเตนใหญ่

ในเนเธอร์แลนด์มีที่มาของวัน เอพริลฟูลส์เดย์ (April Fool’s Day) ที่แตกต่างออกไป โดยมีบันทึกไว้เมื่อปี ค.ศ. 1572 เกี่ยวกับชัยชนะของชาวดัตช์ในการยึดเมืองแห่งหนึ่ง เกิดเป็นสุภาษิตว่า Op 1 april verloor Alva zijn bril แปลว่า ในวันที่ 1 เมษายน Alva ทำแว่นตาหาย อันเป็นเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการยึดเมืองบรีเอลล์ ซึ่งดยุคอัลวาเรซ เด โตเลโด (Álvarez de Toledo) ของสเปนพ่ายแพ้

10 วัฒนธรรมและการเล่นมุกโกหก April’s fool day ของประเทศต่างๆ

1. อังกฤษ
ในปี ค.ศ. 1980 บีบีซีประกาศว่าหน้าปัดนาฬิกาบิ๊กเบนเปลี่ยนมาเป็นแบบดิจิทัล ซึ่งนั่นก็คือหนึ่งในประเพณี April Fool’s Day โดยมีนักคติชนวิทยาผู้ศึกษาวัฒนธรรมชาวอังกฤษได้กล่าวว่าประเพณีในสหราชอาณาจักรมีมานานและจะเฉลยกันตอนเที่ยง เพื่อไม่ให้ถูกเข้าใจผิด คนที่ถูกล้อในวันเมษาหน้าโง่ของอังกฤษจึงหมายถึงคนที่เล่นแผลงๆ หลังเลยเวลาช่วงเที่ยงขึ้นไปนั่นเอง

2. ไอร์แลนด์
ในไอร์แลนด์ มุก April Fool’s Day จะเป็นการแชร์จดหมายลูกโซ่ที่ระบุภารกิจที่คนอ่านจดหมายเมื่อเปิดแล้วก็ต้องไปทำต่อไป ลงท้ายด้วยคำว่า “send the fool further” หมายถึง “ส่งให้คนโง่ต่อไป”

3. โปแลนด์
ในโปแลนด์จะเล่นมุกโกหกในช่วงวันแรกของเดือนเมษายน การแกล้งกันนี้มีมาหลายศตวรรษ จนกระทั่งหน่วยงานราชการ และสถาบันสำคัญจะไม่ออกประกาศที่จริงจังในวันนี้ เพราะเกรงว่าคนทั่วไปจะไม่เชื่อ อิทธิพลนี้ส่งไปต่อเมืองต่างๆ ที่มีประวัติศาสตร์ใกล้ชิดกับโปแลนด์

4. กลุ่มประเทศนอร์ดิก
ชาวเดนมาร์ก ฟินน์ ไอซ์แลนด์ นอร์เวย์ และสวีเดน จะฉลองวันเอพริลฟูลส์เดย์ April Fool’s Day ด้วยการตีพิมพ์เรื่องเท็จ มุกโกหกสักหนึ่งเรื่องไว้บนหน้าแรกของหนังสือพิมพ์ แต่ไม่ใช่หัวข้อบนสุด

5. เยอรมนี
ในวันที่ 1 เมษายน ชาวเยอรมนีมักตะโกนขึ้นมาดังๆ ว่า “วันเมษาหน้าโง่” และปล่อยมุกแกล้งกัน ล่าสุดปี 2021 ค่ายรถยนต์ Volkswagen ก็ได้ทวีตวิดีโอแผนการตลาดในทวิตเตอร์ เปลี่ยนคำว่า Volk- เป็น Volt- สุดท้ายก็เฉลยออกภายหลังว่าเป็นเรื่องอำกัน

6. ยูเครน
ยูเครนมีการเฉลิมฉลองวันเอพริลฟูลส์เดย์ April Fool’s Day กันในหลายท้องถิ่น บางพื้นที่มีการเฉลิมฉลองอย่างยิ่งใหญ่ด้วยขบวนพาเหรด และตกแต่งเมือง ประดับประดาร้านค้าริมถนน ผู้เข้าร่วมงานแต่งกายด้วยสีสันสนุกสนาน

7. เลบานอน
ผู้ที่อยากเล่นตลก วันเอพริลฟูลส์เดย์ April Fool’s Day จะพูดคำว่า كذبة أول نيسان ซึ่งแปลว่า “วันแรกของเดือนเมษาที่โกหก” ให้แก่ผู้รับ

8. กลุ่มประเทศที่ใช้ภาษาสเปน
ในหลายประเทศที่ใช้ภาษาสเปน รวมถึงประเทศฟิลิปปินส์ มีงานเฉลิมฉลองที่คล้ายกับวันโกหกเดือนเมษายน แต่จัดในช่วงปลายเดือนธันวาคม

9. จีน
แม้ว่าประเทศจีนจะได้รับอิทธิพลวันเอพริลฟูลส์เดย์มาจากฝั่งยุโรป ในแต่ปี ค.ศ. 2003 ก็เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน เมื่อนักร้องชาวฮ่องกงชื่อดัง เลสลี่ จาง ได้กระโดดตึกเสียชีวิต เนื่องจากข่าวนี้ประกาศออกมาในวันที่ 1 เมษายน ประชาชนจึงยังไม่ปักใจเชื่อกัน ภายหลังเมื่อทราบว่าเป็นความจริง แฟนคลับของเธอจึงใช้วันนี้เป็นวันรำลึกถึงนักร้องที่พวกเขาระลึกถึง

10. ญี่ปุ่น
แบรนด์สินค้าต่างๆ ในประเทศญี่ปุ่น มักออกภาพกราฟิกแคมเปญที่หลงให้ผู้ติดตามผลิตภัณฑ์ชวนเชื่อ เช่น การออกนาฬิการุ่นใหม่ หรือเปลี่ยนคาแรกเตอร์ตัวการ์ตูนที่นิยมให้หน้าตาแปลกๆ ถือว่าเป็นการเล่นมุกโกหกอย่างน่ารักๆ

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง :