เฝ้าระวัง 6 โรคหน้าฝน พร้อมสาเหตุ อาการ และวิธีป้องกัน




ตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม 2565 เป็นต้นไปก็เข้าสู่ฤดูฝนอย่างเป็นทางการตามประกาศของกรมอุตุนิยมวิทยา นอกจากเรื่องลมฟ้าอากาศที่เปลี่ยนแปลงแล้ว “โรคหน้าฝน” ก็เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องให้ความใส่ใจเพื่อป้องกันสุขภาพให้แข็งแรงอีกด้วย ซึ่งฤดูนี้มีหลายโรคที่ต้องเฝ้าระวัง และต้องป้องกันอย่างไร เรารวมมาให้แล้ว

ไข้เลือดออก

โรคไข้เลือดออก เป็นหนึ่งในโรคหน้าฝนที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค โดยกัดคนที่เป็นโรคนี้ จากนั้นเชื้อโรคจะเข้าไปฟักตัวอยู่ในยุง แล้วสามารถถ่ายทอดไปสู่คนอื่นๆ ที่ถูกยุงกัดได้ทุกครั้ง มักระบาดหนักในช่วงหน้าฝน ซึ่งแพร่กระจายได้มากกว่าฤดูอื่นๆ ถึง 3 เท่า

อาการของไข้เลือดออก

  • มีไข้สูงแบบเฉียบพลัน และมีอาการไข้สูงตลอดทั้งวันต่อเนื่องเป็นเวลาประมาณ 2-7 วัน
  • ปวดศีรษะ
  • ปวดเมื่อยตามตัว
  • ส่วนใหญ่มีอาการหน้าแดง
  • อาจมีจุดแดงเล็กๆ ขึ้นตามลำตัว แขน ขา
  • ไม่ไอ ไม่มีน้ำมูก
  • มักมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน
  • ปวดท้องและเบื่ออาหาร

วิธีป้องกันไข้เลือดออก

  • เก็บกวาดบ้านให้ปลอดโปร่ง ไม่มีบริเวณอับทึบให้ยุงลายเกาะพัก
  • เก็บขยะ เศษภาชนะทุกชนิดบริเวณรอบบ้าน ทิ้งในถุงดำ มัดปิดปากถุงแล้วนำไปทิ้งในถังขยะ เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งขังน้ำให้ยุงวางไข่เพาะพันธุ์ได้
  • เก็บน้ำ ปิดฝาภาชนะใส่น้ำกินน้ำใช้ให้มิดชิด ล้างคว่ำภาชนะที่ไม่ใช้ และเปลี่ยนน้ำในภาชนะเล็กๆ เช่น ถ้วยรองขาตู้ หรือแจกันทุกสัปดาห์
  • ใส่ทรายกำจัดลูกน้ำ หรือปล่อยปลากินลูกน้ำในภาชนะที่ปิดฝาไม่ได้ เช่น อ่างเลี้ยงไม้น้ำ

ไข้หวัด

ไข้หวัด หรือ โรคหวัด เป็นโรคหน้าฝนที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสในทางเดินหายใจส่วนต้นที่ส่งผลกระทบต่อจมูกและคอ มักเกิดเมื่ออุณหภูมิร่างกายเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เช่น ตัวเปียกฝน อากาศเปลี่ยน ซึ่งสามารถพบได้ทั้งปี แต่จะพบบ่อยในหน้าฝน

อาการไข้หวัด

  • คัดจมูก
  • น้ำมูกไหลลักษณะใส
  • ไอมีเสมหะ
  • จาม
  • เจ็บคอ
  • เสียงแหบ
  • อาจมีไข้ต่ำๆ ปวดศีรษะเล็กน้อย

วิธีป้องกันไข้หวัด

  • ใส่หน้ากาก
  • ล้างมือ
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • เลี่ยงสถานที่แออัด

ไข้หวัดใหญ่

ไข้หวัดใหญ่ เป็นโรคหน้าฝนที่เกิดจากการติดเชื้ออินฟลูเอนซา (Influenza Virus) อาจมีอาการเริ่มต้นเหมือนไข้หวัด ส่วนใหญ่สามารถหายเป็นปกติได้ใน 1-2 สัปดาห์ แต่บางรายอาจมีความรุนแรงทำให้เกิดปอดอักเสบและเสียชีวิตได้

อาการไข้หวัดใหญ่

  • มีไข้สูงเกิน 38 องศาฯ
  • ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อมาก
  • ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย หนาวสั่น
  • เบื่ออาหาร
  • คัดจมูก มีน้ำมูกใสๆ ไอแห้งๆ
  • บางรายมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน

วิธีป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่

  • ปิดปาก ปิดจมูก เมื่อไอ จาม
  • ล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจลทำความสะอาดมือ
  • หลีกเลี่ยงคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ป่วย
  • เมื่อป่วยควรหยุดเรียน หยุดงาน หยุดกิจกรรมในสถานที่แออัด
  • ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ปีละ 1 ครั้ง

อหิวาตกโรค

เกิดจากการกินอาหารที่มีเชื้อแบคทีเรียหรือติดเชื้อไวรัส ทำให้เกิดอาการท้องเสียฉับพลัน มักเกิดในชุมชนที่อยู่กันอย่างหนาแน่น และไม่มีน้ำสะอาดใช้อย่างพอเพียง ไม่มีส้วมที่ถูกสุขลักษณะ ร้านอาหารไม่สะอาด ถูกหลักอนามัย

อาการอหิวาตกโรค

  • ท้องร่วง
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • มีภาวะขาดน้ำ
  • บางรายอาจมีการถ่ายเป็นมูกเลือด
  • หากมีอาการรุนแรงอาจเกิดภาวะช็อกและเสียชีวิตได้

วิธีป้องกันอหิวาตกโรค

  • ล้างมือด้วยสบู่ให้สะอาดทุกครั้งหลังเข้าห้องน้ำและก่อนกินอาหาร
  • ดื่มน้ำต้มสุกและสะอาด
  • กินอาหารปรุงสุก
  • หลีกเลี่ยงอาหารดิบ
  • รับประทานผลไม้ที่ปอกเปลือกเอง
  • ระวังผลิตภัณฑ์เนยนม

โรคตาแดง

โรคตาแดง เป็นโรคหน้าฝนที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย ซึ่งอาจเกิดพร้อมกับโรคหวัดหรือการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ เป็นโรคที่ติดต่อได้ง่ายจากการสัมผัสกับเชื้อโรคโดยตรง เช่น สัมผัสกับขี้ตาหรือน้ำตาที่ติดอยู่บนมือหรือสิ่งของที่ผู้ป่วยสัมผัส จากการใช้สิ่งของร่วมกัน และจากการหายใจหรือไอจามรดกัน มักพบในกลุ่มเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ เนื่องจากเด็กไม่ระมัดระวังในการป้องกันตัวเองจากเชื้อโรคเท่ากับผู้ใหญ่

อาการโรคตาแดง

  • ตาแดง
  • ปวดเล็กน้อยในเบ้าตา
  • คันตา เคืองตา รู้สึกเหมือนมีสิ่งแปลกปลอมในดวงตา
  • น้ำตาไหล
  • เปลือกตาบวม อาจพบตุ่มเล็กๆ กระจายอยู่ทั่วไป
  • ในกรณีที่ติดเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วย จะมีขี้ตามากทำให้ลืมตายากในช่วงตื่นนอน

วิธีป้องกันโรคตาแดง

  • ล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำและสบู่
  • หลีกเลี่ยงการใช้สิ่งของร่วมกับผู้ป่วย เช่น ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว ผ้าเช็ดมือ เครื่องสำอาง แว่นตา
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสน้ำท่วมขังหรือน้ำสกปรก ระวังไม่ให้น้ำกระเด็นเข้าตา
    ไม่ควรใช้มือขยี้ตา
  • ผู้ที่เป็นโรคตาแดง ควรงดการใช้ของสาธารณะหรือไปในที่สาธารณะจนกว่าจะหาย
  • ไม่ควรใช้ยาหยอดตาร่วมกับผู้อื่น ควรล้างมือให้สะอาดก่อนและหลังการหยอดยาเสมอ

โรคฉี่หนู

เป็นโรคหน้าฝนที่ติดต่อจากสัตว์สู่คน โดยมีหนูหรือสัตว์ฟันแทะเป็นพาหะหลัก เชื้อถูกปล่อยออกมากับปัสสาวะที่ปนเปื้อนอยู่ตามน้ำ ดินที่เปียกชื้น เชื้อสามารถเข้าสู่ร่างกายทางผิวหนังตามรอยแผล รอยขีดข่วน และเยื่อบุของปาก ตา จมูก ที่สำคัญคือเป็นโรคติดต่อร้ายแรงที่มีอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้

อาการโรคฉี่หนู

แบ่งออกเป็น 2 ระยะด้วยกัน

อาการระยะแรก

  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • ปวดศีรษะ มีไข้สูง หนาวสั่น
  • ปวดกล้ามเนื้อหรือข้อต่อ
  • เจ็บช่องท้อง
  • รู้สึกเหนื่อยล้า
  • ตาแดงหรือระคายเคืองที่ตา
  • มีผื่นขึ้น
  • ไม่อยากอาหาร
  • ท้องเสีย

อาการระยะที่สอง

  • มีภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
  • ตาอักเสบ
  • หลอดเลือดอักเสบ
  • ปอดอักเสบ
  • กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ
  • เลือดออกในเนื้อปอด
  • ตัวเหลืองตาเหลือง หรือภาวะดีซ่าน
  • ไตวายเฉียบพลัน
  • ภาวะเลือดออกง่ายตามอวัยวะต่างๆ และอาจทำให้อวัยวะต่างๆ ทำงานล้มเหลวและเป็นอันตรายถึงชีวิตในที่สุด

วิธีป้องกันโรคฉี่หนู

  • หลีกเลี่ยงการเดินในที่น้ำขัง มีน้ำสกปรก
  • ล้างเท้าด้วยน้ำสบู่หลังสัมผัสน้ำสกปรก
  • ควรสวมรองเท้าบูตทุกครั้งที่ต้องลุยน้ำสกปรก
  • ควบคุมและกำจัดหนูตามบริเวณที่อยู่อาศัย สถานที่ทำงาน รวมถึงสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ
  • ควรระบายน้ำตามท่อระบายออกแล้วล้างเพื่อกำจัดน้ำที่ปนเปื้อน
  • หากสงสัยว่ามีอาการของโรคฉี่หนู ควรพบแพทย์เพื่อตรวจรักษาทันที

โรคมือเท้าปาก

เป็นโรคหน้าฝนที่พบบ่อยในเด็กเล็ก ติดต่อง่าย ไม่มีวัคซีนป้องกัน และมีโอกาสเป็นเพิ่มมากขึ้นในช่วงหน้าฝน สาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัสกลุ่มเอนเทอโรไวรัส พบมากในเด็กอายุต่ำกว่า 10 ปี แต่สามารถเกิดกับเด็กโตและผู้ใหญ่ได้เช่นกัน โดยทั่วไปผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้นและหายป่วยภายในเวลาประมาณ 7-10 วัน

อาการโรคมือเท้าปาก

  • มีไข้
  • เจ็บปาก
  • น้ำลายไหล
  • มีแผลที่กระพุ้งแก้มและเพดานปาก
  • มีผื่นเป็นจุดแดงหรือตุ่มน้ำใสที่บริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า รอบก้นและอวัยวะเพศ
  • อาจมีผื่นตามลำตัว แขนและขาได้

วิธีป้องกันโรคมือเท้าปาก

  • แยกผู้ป่วยที่เป็นโรคไม่ให้ไปสัมผัสกับเด็กคนอื่น
  • ผู้ปกครองควรหมั่นล้างมือเด็ก เพื่อป้องกันการถ่ายทอดเชื้อไปยังเด็กคนอื่น
  • หมั่นทำความสะอาดของเล่นและสภาพแวดล้อมทุกวัน
  • ดูแลความสะอาดของน้ำ อาหาร และสิ่งของ ที่เด็กอาจนำเข้าปาก
  • โรงเรียนควรงดรับเด็กป่วยเข้าเรียนจนกว่าจะหายดีเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ
  • ผู้ปกครองควรพาบุตรหลานที่ป่วยไปรักษา พร้อมแจ้งโรงเรียนและเด็กควรหยุดเรียนจนกว่าจะหาย

จะเห็นได้ว่า โรคหน้าฝน ส่วนใหญ่มักจะเป็นโรคติดต่อ มีทั้งจากสัตว์สู่คนและคนสู่คนด้วยกัน วิธีป้องกันการแพร่ระบาดของโรคในหน้าฝนที่ดีที่สุดคือ เมื่อรู้ตัวว่าป่วยควรรีบทำการรักษาและหยุดพักเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไปยังผู้อื่นจนกว่าจะหายดีเสียก่อน.

ข้อมูลอ้างอิง: กรมควบคุมโรค, สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย

Share

Recent Posts

New York City’s Sweetest Ice Cream Shops To Check Out

New York City is a haven for food lovers, and when it comes to ice… Read More

11 months ago

Explore Montenegro, The Hidden Gem of the Balkans

Montenegro, a hidden gem nestled in the Balkans, offers travelers a captivating experience with its… Read More

11 months ago

Spice Up Your Salad Game With These Tips To Make Salads More Exciting

Salads are a fantastic way to incorporate fresh and nutritious ingredients into our daily meals.… Read More

11 months ago

The Best Travel Destinations For Fitness Enthusiasts

  For fitness enthusiasts seeking to combine their love for travel and physical well-being, there… Read More

11 months ago

What To Do On Your First Visit To Edinburgh

Edinburgh, the capital city of Scotland, is a captivating destination that offers a perfect blend… Read More

12 months ago

Which Are The Consistently Most Popular Starbucks Drinks?

Starbucks has become a global phenomenon, captivating millions of coffee enthusiasts with its diverse menu… Read More

12 months ago