อันตรายจากพลาสติกใส่อาหาร เมื่อ Food Delivery เป็นที่นิยมช่วงโควิด




โควิด-19 สร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับสังคมโลก แม้แต่เรื่องเล็กๆ ในชีวิตประจำวันอย่างเรื่องอาหาร ก็มีความกังวลใจเมื่อเราต้องสั่งอาหารผ่านแอปฯ หรือหน้าร้านแบบสั่งกลับบ้านแล้วมีค่ากล่องพลาสติกใส่อาหารเพิ่มขึ้นมา ผู้บริโภคส่วนหนึ่งกังวลใจว่าพลาสติกโดนความร้อนแล้วหด จะเป็นอันตรายต่อร่างกายหรือไม่

โชคดีที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่เข้าใจอันตรายจากพลาสติกใส่อาหาร จากอดีตที่นิยมใช้โฟม ปัจจุบันมีการเปลี่ยนมาใช้พลาสติก BPA Free และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ให้ความสำคัญต่อการตรวจสอบพลาสติกใส่อาหารมากขึ้น

กล่องโฟม กับ กล่องพลาสติก อันตรายต่อร่างกายอย่างไร

กล่องโฟมใส่อาหารเมื่อโดนความร้อน

ในยุคที่กล่องโฟมใส่อาหารเป็นที่นิยม ก็มีการศึกษาอันตรายของสารที่อาจเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ ซึ่งก็คือโพลิเมอร์ชื่อว่า โพลีสไตรีน (Polystyrene) เมื่อพลาสติกโดนความร้อนจะเกิดปฏิกิริยาให้สารเคมีนี้เข้าสู่อาหาร มีผลเสียต่อร่างกายดังนี้

  • มีผลต่อระบบประสาท เม็ดเลือดแดง ตับ และไต
  • เมื่อถูกผิวหนัง เข้าตา หรือสูดดม ก็จะระคายเคือง ไอ หายใจลำบาก ปวดศีรษะ ง่วงซึม

นอกจากนี้ ยังมีสารเบนซิน (Benzene) ที่จัดเป็นสารก่อมะเร็ง เมื่อรับเข้าสู่ร่างกายเป็นเวลานานๆ ก็จะทำลายกระดูก มีผลทำให้เกิดโลหิตจาง (Anemia) ทำให้จำนวนเม็ดเลือดแดงลดลง ทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย

เมื่อมีการให้ความรู้อันตรายจากกล่องโฟม(1)ในระดับโรงเรียน และสังคมผู้บริโภคตื่นตัว ก็ทำให้ความนิยมใช้กล่องโฟมบรรจุอาหารนั้นลดลง

กล่องพลาสติกใส่อาหารเมื่อโดนความร้อน

สารปนเปื้อนที่มีโอกาสติดมากับอาหารจากกล่องพลาสติกแบบใส คือ พาทาเลต (Pthalate)(2) สารเคมีตัวนี้จัดอยู่ในกลุ่มโพลิเมอร์อ่อนตัวได้ที่นำมาทำผลิตภัณฑ์บรรจุอาหารมากที่สุด ทั้งกล่องข้าวพลาสติก, กล่องใส่อาหารแบบกลับบ้าน Take away, ขวดน้ำ แก้วน้ำ ขวดนม ของเล่นเด็ก เป็นต้น พลาสติกเหล่านี้มักมีสารพาทาเลตผสมอยู่ในเนื้อพลาสติก 40% ของน้ำหนัก

รู้จัก “พาทาเลต” สารอันตรายต่อระบบสืบพันธุ์และระบบต่อมไร้ท่อ

  • ไม่มีรายงานการเกิดอันตรายต่อมนุษย์ แต่จากการทดลองในสัตว์ด้วยความเข้มข้นสูงๆ พบว่าสร้างผลให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจ และระบบประสาทส่วนกลางถูกกดทำให้ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ อาเจียน คลื่นไส้
  • จากการทดลองเมื่อสัมผัสกับผิวหนังโดยตรงในความเข้มข้น 2% หรือ 5% จะพบว่าไม่ก่อให้เกิดอาการระคายเคืองที่ผิวหนัง แต่หากสัมผัสถูกดวงตา จะทำให้ระคายเคืองต่อตา ปวดตา น้ำตาไหล
  • การกลืนเข้าไปโดยตรงมีผลให้คลื่นไส้ อาเจียน แต่จากข้อมูลของศูนย์วัตถุอันตรายและเคมีภัณฑ์ กล่าวว่าสารนี้ไม่ก่อมะเร็ง ไม่มีผลต่อพัฒนาการทารกในครรภ์ แต่มีผลทำลายไต ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ และทางเดินอาหาร

สหภาพยุโรปจำกัดการใช้ DBP/ BBP/ DEHP ในผลิตภัณฑ์สำหรับผู้บริโภคทุกชนิด ที่ไม่เกิน 0.1% ของน้ำหนักวัสดุที่ผสมสารพลาสติไซเซอร์ และกำหนดปริมาณการบริโภคต่อวัน (Tolerable Daily Intake) กำหนดให้รับพาทาเลต DBP, BBP, DEHP และ DINP เข้าร่างกายไม่เกิน 50 ไมโครกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม (µg/kg) โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อระบบสืบพันธุ์ (3)

คนกรุงเทพฯตื่นกับปัญหาพลาสติกปนเปื้อนจากกล่องใส่อาหาร Food Delivery

ศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เผยตัวเลขที่น่าสนใจของผู้บริโภคในพื้นที่กรุงเทพฯ ที่ใช้บริการ Food Deliver หรือซื้อกลับบ้าน ร้อยละ 22.7 ต้องการให้สำรวจความปลอดภัยจากกล่องบรรจุอาหาร และในเดือนตุลาคม 2564 ได้ดำเนินการร่วมกับห้องปฏิบัติการที่ผ่านการรับรองมาตรฐานให้ตรวจสอบปริมาณสารพาทาเลตที่ปนเปื้อนมากับอาหาร

กล่องพลาสติกใส่อาหารแบบต่างๆ จำนวน 30 ตัวอย่าง มาจากการสุ่มสินค้าที่พบจำหน่ายทั่วไป จากห้างสรรพสินค้า, ตลาด, ร้าน 20 บาท ทั้งสินค้าที่มีแบรนด์ และไม่มีแบรนด์ เพื่อหาสารพาทาเลตทั้ง 7 ชนิด และสารบีพีเอ (BPA) ตามมาตรฐาน
EN 14372: 2004, Extraction with organic solvent, determination by GC-MS

ผลจากตรวจสอบพบว่ากล่องพลาสติกบรรจุอาหารทั้งแบบราคาสูงและราคาต่ำ ไม่พบสารบีพีเอ และสารพาทาเลตที่เกินกว่าค่ามาตรฐาน

อย่างไรก็ดี แม้ว่าการรีไซเคิลกล่องใส่อาหารพลาสติกอาจเป็นทางออก แต่ทางออกที่ยั่งยืนที่สุดคือการลดการใช้พลาสติกใส่อาหารแบบใช้แล้วทิ้ง

รศ.นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ผู้อำนวยการสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล และศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว สรุปในงานแถลงข่าวร่วมกับศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อว่า กล่องบรรจุอาหารพลาสติกเมื่อเข้าสู่กระบวนการกำจัดขยะประเภทพีวีซีนี้จะปล่อยมลพิษสู่สิ่งแวดล้อมและใช้พลังงานสูง และต้องเพิ่มวัตถุดิบกับต้นทุนสูงเพื่อนำกลับมารีไซเคิลใช้ได้อีก ดังนั้นทางออกที่สำคัญที่สุดคือลดการใช้ภาชนะแบบใช้แล้วทิ้ง ผู้ผลิตควรตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อสังคม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรลงทุนต่อการวิจัยภาชนะบรรจุอาหารเพื่อความปลอดภัยต่อเด็ก ผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม

เรียบเรียง : สีวิกา ฉายาวรเดช

ที่มา :
(1) กล่องโฟมบรรจุอาหาร อันตรายอย่ามองข้าม, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
(2) พาทาเลต (Pthalate) สถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม
(3) FAQ: phthalates in plastic food contact materials, European Food Safety Authority

Share

Recent Posts

New York City’s Sweetest Ice Cream Shops To Check Out

New York City is a haven for food lovers, and when it comes to ice… Read More

11 months ago

Explore Montenegro, The Hidden Gem of the Balkans

Montenegro, a hidden gem nestled in the Balkans, offers travelers a captivating experience with its… Read More

11 months ago

Spice Up Your Salad Game With These Tips To Make Salads More Exciting

Salads are a fantastic way to incorporate fresh and nutritious ingredients into our daily meals.… Read More

11 months ago

The Best Travel Destinations For Fitness Enthusiasts

  For fitness enthusiasts seeking to combine their love for travel and physical well-being, there… Read More

11 months ago

What To Do On Your First Visit To Edinburgh

Edinburgh, the capital city of Scotland, is a captivating destination that offers a perfect blend… Read More

12 months ago

Which Are The Consistently Most Popular Starbucks Drinks?

Starbucks has become a global phenomenon, captivating millions of coffee enthusiasts with its diverse menu… Read More

12 months ago