ลูกหนี้มีหนาวดอกเบี้ยขาขึ้น เปิด 5 เคล็ดลับเอาตัวรอด ก่อนเจอวิกฤติ




คณะกรรมการนโยบายการเงิน หรือ กนง. เตรียมประชุมเพื่อพิจารณาปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายในต้นเดือนสิงหาคมนี้ เพื่อควบคุมเงินเฟ้อที่ปรับเพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับหลายๆ ประเทศทั่วโลก ภายหลังธนาคารกลางแห่งสหรัฐฯ และธนาคารกลางยุโรป ทยอยปรับขึ้นดอกเบี้ย อย่างต่อเนื่อง ทำให้มีความกังวลจากหลายฝ่ายถึงการปรับอัตราดอกเบี้ยของไทย อาจส่งผลกระทบต่อลูกหนี้ในระบบ และการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ เพราะขณะนี้ไทยมีหนี้ครัวเรือนค่อนข้างสูง

“ดร.สุทธิกร กิ่งแก้ว” ที่ปรึกษา สำนักวิจัย มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ประเมินว่า การปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นของไทยน่าจะเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป ตามแนวโน้มการปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นในประเทศต่างๆ ทั่วโลก ประกอบกับอัตราดอกเบี้ยของไทยที่ผ่านมาในช่วงวิกฤติโควิด ถูกกดให้อยู่ในระดับต่ำมาก เพื่อกระตุ้นให้เกิดการใช้จ่ายและลงทุน

สำหรับอัตราเงินเฟ้อของไทย ส่งผลให้ราคาสินค้ามีการปรับตัวสูงขึ้น ส่วนหนึ่งเกิดมาจากราคาน้ำมันและพลังงานปรับตัวขึ้นตามตลาดโลก รวมทั้งสินค้าเกษตรมีราคาสูงขึ้น ซึ่งการปรับอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นแม้ว่าจะช่วยลดอัตราเงินเฟ้อจากการใช้จ่ายการลงทุนที่น้อยลง แต่จะส่งผลกระทบซ้ำเติมให้กับประชาชน โดยเฉพาะขณะนี้ประเทศไทยมีปริมาณหนี้ครัวเรือนค่อนข้างสูง โดยเฉพาะหนี้จากการผ่อนบ้าน รถยนต์ และบัตรเครดิต การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยทุก 1% จะเป็นภาระให้ภาคครัวเรือนไทยประมาณ 1.5 แสนล้านบาท และทุก 1% ที่เพิ่มขึ้นจะส่งให้ครัวเรือนไทยต้องจ่ายค่าผ่อนบ้านเพิ่มขึ้น 2,000-3,000 บาทต่อเดือน จึงส่งผลต่อกำลังซื้อของแต่ละครอบครัวต่อจากนี้

“คนวัยทำงานช่วงอายุต่ำกว่า 40 ปี จะได้รับผลกระทบจากการขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งนี้ค่อนข้างมาก โดยเฉพาะหลายคนที่ในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยต่ำเลือกผ่อนบ้านที่มีราคาสูงเมื่อเทียบกับรายได้ และการขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งนี้จะทำให้ตลาดอสังหาริมทรัพย์ของไทยชะลอตัว เนื่องจากคนจะซื้ออสังหาริมทรัพย์ลดลง เพราะไม่อยากแบกรับกับอัตราดอกเบี้ยที่กำลังจะเพิ่มสูงขึ้น”

วางแผนการเงิน ก่อนดอกเบี้ยปรับขึ้น

สำหรับการเตรียมความพร้อมก่อนจะมีมาตรการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของไทย “ดร.สุทธิกร” ให้คำแนะนำดังนี้

1.หากผ่อนบ้านครบ 3 ปี ควรรีไฟแนนซ์กับธนาคารที่ให้อัตราดอกเบี้ยต่ำกว่า แต่ถ้าไม่ต้องการเปลี่ยนธนาคารก็สามารถติดต่อกับธนาคารเดิม เพื่อขอปรับลดอัตราดอกเบี้ยตามความเหมาะสม

2.ควรวางแผนการเงินอย่างรัดกุม เพราะธุรกิจและอาชีพการทำงานในอนาคต จะมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบที่รวดเร็ว หากไม่มีการเตรียมความพร้อมที่เหมาะสมอาจเจอกับปัญหาทางการเงิน ในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ และควรเลือกลงทุนในสินทรัพย์ที่มีปัจจัยพื้นฐานจริงๆ ไม่ใช่การเก็งกำไร

3.สถานการณ์การปรับอัตราดอกเบี้ยของไทยต่อจากนี้จะอยู่ในช่วงขาขึ้น ดังนั้นคนที่ลงทุนซื้อหุ้นกู้หรือฝากประจำ ไม่ควรเลือกลงทุนแบบระยะยาว หุ้นกู้อาจจะต้องดูที่ไม่เกิน 2 ปี เงินฝากประจำควรเลือกระยะเวลา 6 เดือน – 1 ปี

4.จากการประเมินคาดว่าอัตราดอกเบี้ยจะปรับเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่องหลังจากนี้ 3-5 ปี ยกเว้นจะมีผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจในต่างประเทศ ที่อาจจะเกิดได้จากทั้งในสหรัฐฯ และจีน ซึ่งจะทำให้การปรับอัตราดอกเบี้ยของไทยชะลอตัว หรืออาจเปลี่ยนทิศทางได้

5.ประชาชนทั่วไปควรใช้เงินอย่างประหยัด วางแผนการเงินในการสร้างช่องทางการหารายได้ ไม่ควรคาดหวังจากรายได้ช่องทางเดียวเหมือนยุคก่อน รวมถึงเตรียมความพร้อมหากมีวิกฤติเศรษฐกิจเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อไม่ให้ตนเองและครอบครัวได้รับผลกระทบที่รุนแรง.

Share

Recent Posts

New York City’s Sweetest Ice Cream Shops To Check Out

New York City is a haven for food lovers, and when it comes to ice… Read More

11 months ago

Explore Montenegro, The Hidden Gem of the Balkans

Montenegro, a hidden gem nestled in the Balkans, offers travelers a captivating experience with its… Read More

11 months ago

Spice Up Your Salad Game With These Tips To Make Salads More Exciting

Salads are a fantastic way to incorporate fresh and nutritious ingredients into our daily meals.… Read More

11 months ago

The Best Travel Destinations For Fitness Enthusiasts

  For fitness enthusiasts seeking to combine their love for travel and physical well-being, there… Read More

12 months ago

What To Do On Your First Visit To Edinburgh

Edinburgh, the capital city of Scotland, is a captivating destination that offers a perfect blend… Read More

12 months ago

Which Are The Consistently Most Popular Starbucks Drinks?

Starbucks has become a global phenomenon, captivating millions of coffee enthusiasts with its diverse menu… Read More

12 months ago