รู้จัก “เงินเฟ้อ คืออะไร” ส่งผลต่อประชาชนอย่างไร




เงินเฟ้อ คือ สิ่งที่เกี่ยวข้องกับประชาชน ในประเทศไทยมีหน่วยงานที่ดูแล “เงินเฟ้อ” อยู่ 2 แห่ง คือ ธนาคารแห่งประเทศไทยและกระทรวงพาณิชย์ เพื่อดำเนินการตรึงภาวะเงินเฟ้อ ร่วมกันดูแลราคาสินค้าและบริการ และออกนโยบายเพื่อป้องกันราคาสินค้าที่สูงขึ้น การตีความหมายของ “เงินเฟ้อ” ก็สามารถบอกได้คร่าวๆ ว่าข้าวของต่างๆ ราคาแพงขึ้นมากหรือน้อยกว่าเดิมเพียงใด เงินเฟ้อส่งผลต่อชีวิตประจำวันของเราทั้งทางตรงและทางอ้อม มาดูกันว่าเงินเฟ้อคืออะไร

เงินเฟ้อ คืออะไร

เงินเฟ้อ (Inflation) คือ ภาวะที่ราคาสินค้าและบริการเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ถ้าหาก “เงินเฟ้อ” สูงขึ้น ก็จะกระทบกับฐานะและความเป็นอยู่ของประชาชน สาเหตุของการเกิดเงินเฟ้อ มี 2 สาเหตุหลัก ดังนี้

  1. ประชาชนมีความต้องการซื้อสินค้าและบริการที่สูงขึ้น (Demand-Pull Inflation)
  2. ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น (Cost-Push Inflation)

เงินเฟ้อมีผลต่อประชาชนและภาพรวมของประเทศอย่างไร

  • เงินเฟ้อที่เกิดจากความต้องการซื้อสินค้าที่สูงขึ้น และต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น ส่งผลต่อรายจ่ายและค่าครองชีพที่สูงขึ้นด้วย
  • เท่ากับว่าหากมี รายได้เท่าเดิม หนี้สินต่อเดือนเท่าเดิม แต่มีอัตราเงินเฟ้อสูงเพิ่มขึ้นก็เท่ากับว่าปีนั้นประชาชนมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น
  • เมื่อสินค้าราคาเพิ่มขึ้น ก็เท่ากับว่า ต้นทุนเพิ่มขึ้น
  • เมื่ออัตราเงินเฟ้อสูงมากขึ้น จนประชาชนซื้อของน้อยลง ธุรกิจต่างๆ ก็ไม่สามารถขายของได้ ทำให้การลงทุนชะลอออกไป การพัฒนาการผลิตของประเทศในระยะยาวก็ชะลอตามไปด้วย
  • หากอัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นเกินกว่าอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง จนเกิดปัญหาสะสมมาก ก็อาจจะเกิดเป็นปัญหาฟองสบู่ในสินทรัพย์ต่างๆ (Asset Price Bubble)

วิธีการแก้ปัญหาเงินเฟ้อ

การเกิด “เงินเฟ้อ” นั้นต้องมีการจัดการจากทีมจัดการการเงิน ทั้งธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และกระทรวงพาณิชย์ ธปท. จะใช้เครื่องมือ “นโยบายการเงิน” ดูแลคาดการเงินเฟ้อ โดยมีคณะกรรมการนโยบายการเงิน ดูแลรักษาระดับของเงินเฟ้อผ่านเครื่องมือ 3 ประเภท ได้แก่

1. การดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องของสถาบันการเงิน (Reserve Requirement)
2. การทำธุรกรรมปรับสภาพคล่องผ่านการตลาดการเงิน (Open Market Operations)
3. หน้าต่างปรับสภาพคล่อง ณ สิ้นวัน (Standing Facilities)

คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะประชุมกันปีละ 8 ครั้ง หรือ 6-8 สัปดาห์ เพื่อกำหนดนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนที่เหมาะสม

อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน และอัตราเงินเฟ้อทั่วไปล่าสุด

ที่มา : www.bot.or.th