รถยนต์ไฟฟ้ากับสาเหตุที่อาจทำให้เกิดไฟไหม้




ประเทศจีนประสบกับปัญหาด้านมลภาวะที่รุมเร้ามานานจนกลายเป็นจุดเปลี่ยนที่มีความสำคัญในวงการอุตสาหกรรมยานยนต์ของโลก เมื่อหลายปีที่ผ่านมา รัฐบาลจีน มีนโยบายสนับสนุนอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle: EV) อย่างชัดเจน ทำให้ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์ไฟฟ้าในจีนมีการมีการพัฒนาและเติบโตอย่างรุดหน้า จีนมีบริษัทผลิตรถยนต์ไฟฟ้าประมาณ 200 แบรนด์ และมีถึง 150 แบรนด์ที่เป็นบริษัทใหม่ เพิ่งก่อตั้งขึ้นไม่เกิน 3 ปี ปริมาณการขายและกำลังการผลิตรถยนต์พลังงานไฟฟ้าของจีนยังคงอยู่ในอันดับ 1 ของโลกติดต่อกันเป็นปีที่ 6 กลายเป็นกำลังสำคัญในการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมยานยนต์ทั่วโลก

จากการรวบรวมสถิติรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศจีนที่เกิดไฟไหม้ ไม่ว่าจะในระหว่างการขับใช้งาน หรือจอดเพื่อชาร์จประจุไฟฟ้า เมื่อเทียบกับจำนวนของรถยนต์ไฟฟ้าที่มากกว่า 250 ล้านคัน 

วันที่ 28 มีนาคม 2565 XPeng G3 ไฟลุกไหม้ในเขตหลงหัว เมืองเซินเจิ้นรถทั้งคันถูกไฟไหม้จนเหลือแต่โครงแชสซี

วันที่ 5 เมษายน 2565 Aiways U5 ถูกไฟไหม้ที่สถานีชาร์จในเขต Jinjiang เมืองเฉิงตู

เมื่อปีที่ผ่านมา (2564) ข่าวรถยนต์ไฟฟ้าเกิดเพลิงไหม้ไม่ใช่เรื่องแปลกหรือผิดปกติ แม้จะเกิดเหตุการไฟไหม้กับรถยนต์ไฟฟ้าบางรุ่น แต่ยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศจีนทำสถิติสูงสุดอย่างต่อเนื่อง ล่าสุด แบรนด์รถยนต์ของจีน BYD ประกาศว่าจะยุติการผลิตรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปภายในทั้งหมด

สื่อของจีน รายงานอุบัติเหตุไฟไหม้รถยนต์ไฟฟ้า 86 ครั้งในระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมา โดยเฉลี่ย 1 ครั้งต่อ 1 สัปดาห์ แต่ในไตรมาสแรกของปีนี้ รถยนต์ไฟฟ้าเกิดเพลิงไหม้ไปแล้ว 640 คัน เพิ่มขึ้น 32% เมื่อเทียบเป็นรายปี เฉลี่ย 7 คันต่อวัน จากยอดขายและจำนวนของรถยนต์ไฟฟ้าในจีนที่พุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่รถยนต์บางรุ่นยังไม่มีความเสถียรหรือเกิดความผิดพลาดของระบบขณะชาร์จไฟหรือกำลังวิ่ง

ตามข้อมูลล่าสุดที่เผยแพร่โดยกรมดับเพลิงและกู้ภัยจีน กระทรวงการจัดการเหตุฉุกเฉิน เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2565นี้ บริษัทผลิตรถยนต์ไฟฟ้ายักษ์ใหญ่อย่าง Tesla / BYD หรือผู้ผลิตรถยนต์เครื่องยนต์สันดาปภายใน เช่น GAC และ BAIC ก็ไม่มีใครรอดจากชะตากรรมนี้

ในบรรดารายงานอุบัติเหตุไฟไหม้ 86 รายการ
BYD เกิดอุบัติเหตุไฟไหม้มากที่สุด 11 ครั้ง ในรถยนต์ไฟฟ้ารุ่น E5, E2, Tang และ Qin ส่วน Tesla เกิดอุบัติเหตุไฟไหม้ 5 ครั้ง ใน Tesla Model 3 และ Model S

จากตัวเลขข้อมูลยอดขาย EV ของจีนในเดือนกุมภาพันธ์ 2565 แสดงให้เห็นว่า BYD ขายรถยนต์ไฟฟ้ามากกว่ายี่ห้ออื่นๆ Li Auto ติดอันดับที่ 6 จากอุบัติเหตุไฟไหม้ 5 ครั้ง และ XPeng มาในอันดับที่ 7 จากสถิติอุบัติเหตุไฟไหม้ 4ครั้ง Zotye เกิดอุบัติเหตุไฟไหม้ 2 ครั้ง ส่วน NIO เกิดขึ้นหนึ่งเดียว

รถยนต์ไฟฟ้า BYD ที่เกิดไฟไหม้ครั้งล่าสุด เกิดขึ้นในเดือนตุลาคม 2564 บนทางด่วนเซินเจิ้น สำหรับ Tesla เกิดเหตุไฟไหม้ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2564 เมื่อ Tesla Model S เพลิงลุกไหม้ขณะจอดอยู่ในที่จอดรถจนวอดหมดทั้งคัน ส่วน Li Auto รุ่น Li ONE XPeng พบว่าเกิดไฟไหม้ 5 ครั้ง  NIO มีอุบัติเหตุไฟไหม้ 1 ครั้ง ในรถรุ่น EC6 Weltmeister ประสบอุบัติเหตุไฟไหม้ 4 ครั้ง ทั้งหมดเกี่ยวข้องกับ EX5 นอกจากนี้มีรายงานการเกิดไฟไหม้ในรถยนต์ไฟฟ้า 57 ครั้ง ในช่วงฤดูร้อน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงกันยายน 2564 คิดเป็น 66% ของการเกิดเพลิงไหม้ทั้งหมด

รายงานอุบัติเหตุไฟไหม้รถยนต์ไฟฟ้าในจีน 86 ครั้ง แยกสาเหตุได้ดังนี้

ไฟไหม้ขณะชาร์จ
ไฟไหม้ขณะขับรถ
ไฟไหม้ขณะจอดรถ
ไฟไหม้หลังจากเกิดอุบัติเหตุ

จากรูปแบบของการเกิดไฟไหม้ทั้ง 4 ประเภท 31 ครั้งเกิดขึ้นขณะจอด 22 ครั้ง เกิดขึ้นระหว่างการชาร์จ (รวมถึงไฟไหม้ที่ชาร์จ) 20 ครั้ง เกิดขึ้นระหว่างการขับ และ 6 ครั้ง เกิดขึ้นหลังจากอุบัติเหตุชนปะทะ สถาบันเทคโนโลยีแห่งปักกิ่งระบุว่า 38.5% ของอุบัติเหตุไฟไหม้ เกิดขึ้นขณะจอด และ 27.5% ของอุบัติเหตุไฟไหม้เกิดขึ้นขณะที่รถกำลังชาร์จไฟ

เมื่อแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้ากับการชาร์จ DC แบบเร็ว ภายใต้สภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิต่ำมาก หากระบบควบคุมอิเล็กทรอนิกส์ไม่สามารถอุ่นแบตเตอรี่ได้ แบตเตอรี่อาจมีความเสี่ยงที่จะเกิดเพลิงลุกไหม้

สาเหตุของเพลิงไหม้อีกประการหนึ่งคือการตกตะกอนของลิเธียมคาร์บอเนต และการก่อตัวของลิเธียมเดนไดรต์ในแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนฟอสเฟต การเพิ่มขึ้นของยานพาหนะไฟฟ้าราคาถูกในตลาดรถ แสดงตัวเลขให้เห็นถึงความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากการใช้งานและการชาร์จไฟแบบ DC นอกจากนี้ 66% ของเหตุไฟไหม้รถยนต์ไฟฟ้า เกิดขึ้นในช่วงที่ประเทศจีนมีอากาศร้อน ส่วนในช่วงที่มีอากาศหนาวเย็นมีตัวเลขลดลงที่ 34%

ที่มา : Sohu, CPCA, hstong

สาเหตุที่อาจทำให้รถยนต์ไฟฟ้าเกิดเพลิงลุกไหม้

1. แบตเตอรี่มีอุณหภูมิสูงเกินระดับปกติ (Thermal impact/Thermal Runaway) จนชำรุดเสียหาย เกิดการลัดวงจร แล้วลุกไหม้ขึ้นด้วยตัวมันเอง (Self–ignition/ spontaneous/auto ignition) เกิดได้ทั้งตอนขับใช้งาน ระหว่างการชาร์จ หรือกระทั่งตอนจอด

2. แรงบีบกด กระแทก กระเทือน (Mechanical Impact) จากอุบัติเหตุ ชนปะทะที่ความเร็วสูง

3. การใช้งานหนักทางไฟฟ้า (Electrical Abuse) เร่งชาร์จแบบอัดประจุเต็มที่ ชาร์จด่วน การใช้พลังงานไฟอย่างรวดเร็วเมื่อต้องการพลังจากแบตจำนวนมากในเวลารวดเร็ว ความร้อนจากอุณหภูมิสูงเกินขีดจำกัด จนเกิดปฏิกิริยาเคมีขึ้นในสารประกอบในตัวแบต หรือระบบไฟฟ้าแรงดันสูงเกิดการลัดวงจร จนทำให้เกิดประกายไฟแล้วลุกลามอย่างรวดเร็ว

อย่างไรก็ตาม ถ้าเทียบกับสถิติการผลิตแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนในปีนึงมีการผลิตจำนวนมาก 6-8 พันล้านเซลส์ เมื่อเทียบกับกรณีการเกิดเพลิงลุกไหม้ในรถยนต์ไฟฟ้าก็ถือว่ายังอยู่ในตัวเลขที่ต่ำมาก ปัจจุบันระบบความปลอดภัยของแบตเตอรี่ในรถยนต์ไฟฟ้าขณะใช้งาน ได้รับการพัฒนาไปไกลพอสมควร มีเซนเซอร์และซอฟต์แวร์ที่คอยเฝ้าระวังและป้องกันการลัดวงจร ระบบหล่อเย็นแบตเตอรี่ที่รุดหน้า รวมถึงการปิดผลึกห่อหุ้มบริเวณที่ติดตั้งแบตฯอย่างแน่นหนา ด้วยวัสดุที่มีความแข็งแกร่งสูง ทำให้การใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้ามีความปลอดภัยจากเหตุไฟไหม้มากกว่ารถยนต์เครื่องยนต์สันดาปภายใน. 

อาคม รวมสุวรรณ
E-Mail [email protected]
Facebook https://www.facebook.com/chang.arcom
https://www.facebook.com/ARCOM-CHANG-Thairath-Online-525369247505358/