ทำความรู้จัก ไฮเปอร์โซนิกมิสไซล์ของรัสเซีย ยิงแล้วไม่ต้องสืบ!




ไฮเปอร์โซนิกมิสไซล์ คือขีปนาวุธในอนาคต ที่สามารถเคลื่อนที่ด้วยความเร็ว 10 มัค หรือความเร็วเป็น 10 เท่าของความเร็วเสียง สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

1. Hypersonic Glide Vehicles (HGVs) เป็นจรวดที่ยิงนำส่งไปยังระดับความสูงมากๆ โดยจรวดและแล่นลงไปยังเป้าหมาย

2. Hypersonic Cruise Missiles (HCMs) เป็นจรวดที่ใช้เครื่องยนต์โดยใช้ความเร็วในการอัดอากาศและขับเคลื่อนเครื่องยนต์แบบ Scramjet เพื่อไต่ความเร็วให้ถึงระดับที่ต้องการและเคลื่อนที่ไปยังเป้าหมายโดยใช้เส้นทางเดียวกันกับเส้นทางการบินของอากาศยาน

เมื่อเปรียบเทียบกับขีปนาวุธพิสัยไกล (Ballistic Missiles) ที่มีลักษณะเป็นพาราโบลามากกว่า ส่วนไฮเปอร์โซนิกมิสไซล์มีการโคจรที่ต่ำกว่า จึงถูกตรวจจับได้ด้วยเรดาร์ภาคพื้นช้ากว่า และมีระยะประชิดเป้าหมายที่ใกล้กว่า ด้วยความสามารถในการเคลื่อนที่ไต่ระดับด้วยความเร็วสูงและหลบหลีกได้ ทำให้ไฮเปอร์โซนิกมิสไซล์มีขีดความสามารถในการอ้อมหลบหลีกระบบต่อต้านมิสไซล์ได้มากขึ้น

ปี ค.ศ. 2018 ระบบอาวุธปล่อยนำวิถีจากอากาศสู่พื้นผิวชื่อว่า ‘Kinzhal’ ถูกทดสอบยิงจากเครื่องบินขับไล่แบบ MiG-31 ในระหว่างการซ้อมรบ โดยสามารถทำลายเป้าหมายได้อย่างแม่นยำและมีประสิทธิภาพ กระทรวงกลาโหมของรัสเซียระบุว่า นักบินได้รับการฝึกฝนให้ออกบินทั้งกลางวันและกลางคืน เพื่อทดสอบขีปนาวุธไฮเปอร์โซนิกรุ่นนี้ในทุกสภาพภูมิอากาศ “อาวุธปล่อยนำวิถี Kinzhal เป็นยุทโธปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพสูง ด้วยเทคโนโลยีไฮเปอร์โซนิกที่ก้าวล้ำ เมื่อติดตั้งกับเครื่องบินรบ จะทำให้ ‘Kinzhal’ ทำงานได้อย่างทรงประสิทธิภาพ” กระทรวงกลาโหมรัสเซียระบุ

Kh-47M2 Kinzhal แปลตรงตัวว่า “กริช” เป็นขีปนาวุธอากาศสู่พื้นดินที่มีความเร็วเหนือเสียงของรัสเซีย มีพิสัยทำการไกลมากกว่า 2,000 กม. (1,200 ไมล์) ความเร็วมัค 10 และความสามารถในการหลบหลีกในทุกขั้นตอนของการบิน Kh-47M2 Kinzhal สามารถบรรทุกได้ทั้งหัวรบธรรมดาและหัวรบนิวเคลียร์ โดยบรรทุกและยิงจากเครื่องบินทิ้งระเบิด Tu-22M37 หรือเครื่องบินขับไล่สกัดกั้นความเร็วสูง MiG-31K ถูกนำไปใช้ที่ฐานทัพอากาศในเขตทหารทางใต้ของรัสเซียและเขตการทหารตะวันตก Kinzhal เป็นหนึ่งในหกอาวุธทางยุทธศาสตร์ใหม่ที่เปิดเผยโดยประธานาธิบดี Vladimir Putin เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2018 มีรายงานว่าขีปนาวุธดังกล่าวถูกใช้ครั้งแรกในปี 2559 ระหว่างปฏิบัติการทางทหารของรัสเซียในซีเรีย

ขีปนาวุธดังกล่าวได้รับการออกแบบเพื่อโจมตีเรือรบของ NATO ซึ่งเป็นภัยคุกคามต่อระบบขีปนาวุธทางยุทธศาสตร์ในรัสเซียยุโรป และเพื่อทำลายระบบป้องกันขีปนาวุธของ NATO เรือรบที่ติดตั้งระบบป้องกันขีปนาวุธ ฐานยิงต่อต้านขีปนาวุธและวัตถุบนบก ประจำการบริเวณพรมแดนรัสเซีย ออกแบบมาเพื่อเอาชนะระบบป้องกันภัยทางอากาศหรือขีปนาวุธของสหรัฐฯ เช่น MIM-104 Patriot, Terminal High Altitude Area Defense และระบบ Aegis Combat System โจมตีเป้าหมายที่อยู่นิ่งและเคลื่อนที่ได้ เช่น คลังอาวุธ บังเกอร์หรือศูนย์บัญชาการ เรือบรรทุกเครื่องบิน ภายในเวลาไม่กี่วินาทีหลังจากการยิง ขีปนาวุธ Kinzhal จะเร่งความเร็วขึ้นไปเรื่อยๆ ด้วยความเร็วเหนือเสียงกว่า 10 เท่า และทำการบินในลักษณะหลบเลี่ยงการตรวจจับเพื่อป้องกันขีปนาวุธของฝ่ายศัตรู

Kinzhal มีพิสัยทำการ 1,500-2,000 กม. ในขณะที่บรรทุกหัวรบนิวเคลียร์หรือน้ำหนักบรรทุกดินระเบิดแรงสูง 480 กก. รายงานข่าวของ TASS ในเดือนกรกฎาคม 2018 บ่งชี้ว่า พิสัยของขีปนาวุธจะเพิ่มเกิน 3,000 กม. หากติดตั้งบนเครื่องบินทิ้งระเบิดตูโปเลฟ ตู-22 เอ็ม37 มันมีขนาดใกล้เคียงกับ OTK 9M723 Iskander-M7 7 Kinzhal มีความยาว 8 ม. เส้นผ่านศูนย์กลางลำตัว 1 ม. และน้ำหนักประมาณ 4,300 กก. อย่างไรก็ตาม มันมีลักษณะที่แตกต่างจากขีปนาวุธภาคพื้นดิน รวมถึงส่วนหางที่ออกแบบใหม่  หางเสือลดระดับ ส่วนท้ายของขีปนาวุธออกแบบมาเพื่อปกป้องเครื่องยนต์ระหว่างการเร่งความเร็วจนไปถึงความเร็ว 9 เท่า ของความเร็วเสียง

หลังจากทำการยิง Kinzhal จะเร่งความเร็วอย่างยิ่งยวดจนถึง Mach 4 (ประมาณ 4,900 km/h) และอาจเร่งถึงความเร็วสูงสุด Mach 10 (12,350 km/hr) ความเร็วนี้เมื่อรวมกับวิถีการบินที่ไม่แน่นอนของขีปนาวุธ ความคล่องแคล่วที่เหนือกว่าขีปนาวุธทุกแบบของฝั่งตะวันตก ช่วยขัดขวางการสกัดกั้นของขีปนาวุธนาโต้ที่ใช้ต่อต้านได้ (แม้จะพยายามโม้ว่า สามารถตรวจจับได้ก็ตาม) เป็นที่น่าสังเกตว่าการระบุให้ Kinzhal ของรัสเซียเป็นขีปนาวุธ “ไฮเปอร์โซนิก” นั้นค่อนข้างทำให้เข้าใจผิด เนื่องจากขีปนาวุธเกือบทั้งหมดนั้น มีความเร็วเหนือเสียงแทบทั้งสิ้น (เช่น เหนือกว่า 5 มัค) ในบางช่วงระหว่างการเร่งแบบยิ่งยวด

เมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2565 กระทรวงกลาโหมของรัสเซียอ้างว่า ได้ยิงขีปนาวุธ Kinzhal ไปที่คลังเก็บอาวุธรอบเมือง Deliatyn ทางตะวันตกเฉียงใต้ของยูเครน นับเป็นครั้งแรกที่โลกได้รับรู้ถึงการใช้อาวุธไฮเปอร์โซนิกในการสู้รบ ส่วนสหรัฐอเมริกาต้นตอของปัญหา รัสเซีย-ยูเครน ได้กล่าวอ้างว่า สามารถติดตามขีปนาวุธได้ “แบบเรียลไทม์” ระหว่างการบินเข้าหาเป้าหมาย ตามรายงานของ CNN สื่อกระแสหลักของฝั่งตะวันตกที่ทำข่าวเข้าข้างพญาอินทรีแบบออกหน้าออกตา.

อาคม รวมสุวรรณ
E-Mail [email protected]
Facebook https://www.facebook.com/chang.arcom
https://www.facebook.com/ARCOM-CHANG-Thairath-Online-525369247505358/